บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรเเก้ร้อนในได้ผลดี

สมุนไพรเเก้ร้อนในได้ผลดี


    วิสุทธิ์ บริณายตานนท์ เถ้าแก่รุ่น 2 ร้านโอสถ ย่ง ซิว ตึ๊ง ไท้เชียง ร้านขายยาจีนโบราณย่านเยาวราช ที่เปิดขายมาประมาณ 80 ปี เปิดเผยว่า สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาของจีนนั้นมีจำนวนมากมาย ตั้งแต่สมุนไพรจีนที่นิยมใช้มาประกอบอาหารไปจนสมุนไพรจีนหายากที่มีฤทธิ์เป็นยา ซึ่งในการนำสมุนไพรจีนมาใช้นั้น จำเป็นจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์แผนจีน หรือร้านขายยาสมุนไพรจีนที่มีความชำนาญ เพราะสมุนไพรจีนเพื่อรักษาโรค มักจะต้องใช้ส่วนผสมเป็นสมุนไพรหลายตัว จำนวนมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของแต่ละคนด้วย


     
       สำหรับสมุนไพรจีนขจัดพิษหรือล้างพิษของจีนนั้น ก็มีสรรพคุณรักษาตั้งแต่พิษน้อยๆ อย่างพิษร้อน พิษเย็น ไปจนถึงสมุนไพรที่ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิต หัวใจ เบาหวาน ฯลฯ


     
       สำหรับพิษร้อนเช่น ร้อนใน เป็นไข้ ไอ มีเสมหะ มีสมุนไพรที่รู้จักกันดีหลายตัว ที่นิยมใช้กันได้แก่ ดอกเก็กฮวย,หล่อฮั้งก้วย,ซัวเซียม,เหง็กเต็ก และชะเอม(กำเช่า)
     
       ‘ดอกเก็กฮวย’นั้น ทั้งคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนมักนิยมนำมาทำชา มีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับลม รักษาอาการปากแห้ง ร้อนใน นัยน์ตาแห้ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิดรวมทั้ง สามารถปรับสมดุลและลดความดันโลหิตในร่างกาย
     
       ‘หล่อฮั้งก้วย’ มีลักษณะเป็นลูกกลม ชนิดผลใหญ่ ผลกลม เนื้อแน่น เขย่าไม่มีเสียง เปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล จะถือว่ามีคุณภาพดี มีรสหวานเป็นพิเศษ มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณทางยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับเสมหะ อีกทั้งยังรักษาโรคไอกรน ท้องผูก โรคหลอดลมอักเสบ หืด หอบ ได้อีกด้วย
     
       ‘ซัวเซียม’ หรือ ปักซัวเซียม มีรสหวานอมขมเล็กน้อย มีฤทธิ์เย็นเล็กน้อย สรรพคุณรักษาอาการไอ ไอเป็นเลือด เจ็บคอ กระหายน้ำ บำรุงกระเพาะอาหาร (ห้ามผู้มีอาการไอเพราะความเย็นรับประทาน)
     
       ‘เหง็กเต็ก’ หรือไผ่หยก มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุก มีใบคล้ายใบไผ่ ปลูกมากที่เหอหนาน เจียงซู เหลียวหนิง และซินซาว มณฑลเจ้อเจียงที่ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุด สรรพคุณลดความดันโลหิต กระตุ้นหัวใจ ดับร้อนใน และขับปัสสาวะ
     
       ‘ชะเอม’ หรือ กำเช่า ใช้ส่วนราก มีรสหวานมีฤทธิ์ปานกลาง สรรพคุณ แก้ร้อนใน แก้โรคกระเพาะอาหาร แก้ไอ รักษาใจสั่น โรคลมชัก แก้อาหารเป็นพิษ มีสาร Glycyrrhizin สามารถดูดซับสารพิษ และจับสารพิษเพื่อขับออกทางตับ อีกทั้งสามารถถอนพิษจากยาฆ่าแมลงได้ด้วย
     
       ‘สมุนไพรร้อน’ขจัดเย็น
     
       ขณะที่ร่างกายหากมีความเย็นมากเกินไป (หยาง) ก็สามารถใช้ยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนขจัดได้ ที่นิยมและมีชื่อเสียงมากได้แก่ ตังกุย และโสมเกาหลี
     
       ‘ตังกุย’ มีรสหวานเผ็ด มีฤทธิ์ร้อนเล็กน้อย มักใช้เป็นยาบำรุงเลือด ปรับการไหลเวียนของเลือดให้เป็นปกติ แก้อาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามาก อาการท้องผูก อีกทั้งมีฤทธิ์กระตุ้นและระงับการทำงานของมดลูกด้วย
     
       ‘โสมเกาหลี’ มีชื่อเสียงมากในหมู่คนนิยมรับประทานโสม และในหมู่การแพทย์แผนจีนโดยเฉพาะโสมแดง สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเลือด เสริมสมรรถภาพทางเพศ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ ตัน (หากมีไข้และท้องผูกไม่ควรรับประทาน)
     
       ‘กาฝากต้นหม่อน’ เพิ่มเม็ดเลือดขาว
     
       สำหรับโรคต่างๆ นั้น หากเป็นโรคความดันจากไขมัน สมุนไพรที่รักษาได้ดีคือ ‘ซัวจา’ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งกินได้ทั้งสดและแห้ง มีรสเปรี้ยวหวาน ฤทธิ์อ่อน มีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร ขับพยาธิ ท้องร่วง กระตุ้นให้มดลูกเข้าอู่หลังคลอดบุตร ลดความดันโลหิต และลดคลอเรสเตอรอลในเลือด
     
       นอกจากนี้ยังมี ‘กาฝากต้นหม่อน’ หรือ เช่าเก็ง เป็นยาบำรุงเลือด รักษาโรคหัวใจ ความดัน ไขข้อรูมาติค ที่มีคุณภาพดีมาจากมณฑลกวางสี มีรสขมหวาน ฤทธิ์ปานกลาง เป็นยาบำรุงไต มีฤทธิขับปัสสาวะ ต้านแบคทีเรีย และสามารถเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวซึ่งมีหน้าที่ขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ด้วย

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แตงกวามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร


 แตงกวามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

 แตงกวาอาหารของผิว

          เพราะอุดมไปด้วย วิตามินซี แคลเซียม ซิลิก้า และโปแทสเซียม แตงกวาจึงทำให้ผิวกระจ่างใส เส้นผมเป็นมันเงา เล็บแข็งแรง และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพื่อสุขภาพผิวที่ดี มาทำโทนเนอร์แตงกวากระชับรูขุมขนใช้เองดีกว่า นำแตงกวาครึ่งลูก ถั่วเฮเซลนัท 1 ช้อนโต๊ะ น้ำแร่ 1 ช้อนโต๊ะใส่ในเครื่องปั่นอาหาร นำส่วนผสมที่ได้มากรองด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำ ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วล้างออกโทนเนอร์ส่วนที่เหลือให้นำไปแช่ตู้เย็น เก็บได้ประมาณ 3 วัน



 ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา

          บรรเทาอาการแสบผิวด้วยโลชั่นแตงกวาสูตรเย็นต่อไปนี้ดูสิ ผสมน้ำแตงกวาคั้น (เลือกลูกใหญ่ ๆ ) กับกลีเซอรีนครึ่งช้อนชา ทาบริเวณที่ถูกแดดเผา โลชั่นจะช่วยให้ผิวเย็นและเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยง ทั้งนี้เพราะแตงกวามีคุณสมบัติลดการอักเสบและคืนความชุ่มชื่นให้ผิว



 แสบเคืองตาใช่ไหม?

          ถ้ามีอาการเคืองตา ตาบวมให้ใช้แตงกวาแช่เย็นหั่นเป็นแว่นวางบนตาประมาณ 10 นาที โดยให้นอนพักสายตาในห้องมืด เนื่องจากแตงกวามีวิตามินและเกลือแร่สูง ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูดวงตาให้กลับสดชื่นมีชีวิตชีวา

 ล้างพิษด้วยน้ำแตงกวา

          ถ้าคุณกำลังคิดจะทำดีท็อกซ์ ลองน้ำแตงกวาดูสิ เพราะมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ และสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย มีคุณสมบัติเป็นยาระบาย ด้วยรสชาติที่นุ่มนวลของแตงกวา จึงเหมาะที่จะนำมาผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่น เริ่มต้นวันใหม่ของคุณด้วยเครื่องดื่มสูตรล้างพิษ และเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าต่อไปนี้ : แตงกวา 1 ผล คั้นเอาแต่น้ำ ใส่ขิงหั่นเป็นแว่นขนาดครึ่งนิ้วลงไป ดื่มทันที

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรรักษาเเละบำรุงไต

สมุนไพรรักษาเเละบำรุงไต


       คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยนำเห็ดหลินจือมารักษาไตเรื้อรัง ระบุเห็ดหลินจือ ช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต ทางเลือกใหม่แทนกินยากดภูมิคุ้มกัน แพทย์จุฬาฯศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการไตอักเสบ ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพระบบไหลเวียนโลหิตและเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต



       รศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 - 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

       หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้



        นัก วิจัย กล่าว ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis จะมีอาการเนื้อตัวบวมอย่างเห็นได้ชัด และหากตรวจเลือดและปัสสาวะจะพบภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน ส่งผลให้โปรตีนในเลือดต่ำ ปริมาณการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอ เลือดในร่างกายพร่อง ข้นหนืด ก่อให้เกิดการอุดตัน และยังมีภาวะเผาผลาญไขมันผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง ภาวะต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ไตมีการอักเสบ เสื่อม และถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายในท้ายที่สุด

       หลัง จากเข้าใจถึงกลไกของสาเหตุโรคไตแล้ว รศ.พญ.ดร.นริสาจึงได้นำเอาสารสกัดจากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มาทดลองกับผู้ป่วย เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบสมดุลของภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งยังได้รักษาร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดเลือดด้วย

       รศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 - 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

       หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้

        สำหรับ อาสาสมัครที่เข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะต่อเนื่อง 5 - 10 ปี กำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หลังจากรักษาได้ราว 1 ปี พบว่าภาวะเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ป่วยมีการทำงานของไตดีขึ้น ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

        "ปริมาณ ของสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่มีคุณสมบัติในการรักษาได้นั้น จะอยู่ประมาณ 750 - 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด ซึ่งจะเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลศาสตร์ไหลเวียนของไตให้ดีขึ้น เพราะเลือดจะไหลเข้าสู่ไตได้มากขึ้น ทำให้ความดันภายในไตลดลง"

        นอก จากนี้การบริโภคสารสกัดเห็ดหลินจือในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงใดๆ ด้วย เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีเพดานการบริโภคที่สูงมาก

        รศ.พญ.ดร. นริสา ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตว่าผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ บริโภคและการดำเนินชีวิตโดยให้ความสำคัญในเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่จำกัด ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อไม่ให้ไตขาดเลือด ที่สำคัญคือควรงดสูบบุหรี่

  ทำไมเห็ดหลินจือถึงรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้

       นพ. บรรเจิด ตันติวิท ได้เขียนหนังสือ "หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า" ซึ่งอธิบายหลักการทำงานของเห็ดหลินจือ และประสบการณ์ในการรักษาเห็ดหลินจือให้แก่ผู้ป่วย ได้อธิบายถึงการทำงานของเห็ดหลินจือว่าทำไมถึงรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้

ไต ที่อักเสบจะมีใยแผลเป็นที่ไต นานเข้าจะหดรัดไต ทำให้ไตเล็กลง รวมทั้งยังรัดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ไตทำงานไม่ได้ ไตเกิดภาวะขาดเลือด

  เห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้ เพราะ

       เห็ด หลินจือจะช่วยละลายใยแผลเป็นให้ อ่อนตัว ไม่ให้ไปรัดเส้นเลือดที่เลี้ยงไต เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงไตได้ จึงทำให้ไตทำงานได้ดีขึ้น

       เห็ด หลินจือมีสารนิวคลีโอไชด์ มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือด ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายจนทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

       เห็ดหลินจือเป็นแอนติออกซิแดนต์สามารถขจัดอนุมูลอิสระได้

       เห็ด หลินจือมีโปรตีน Lz-8 ที่ปรับระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเป็นปกติ รวมทั้งมีสารเยอรมาเนียมและสารโพลีแซคคาไรด์ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงอีกด้วย

ที่มา http://www.thaiherbweb.com ภาพคลิปจากอินเตอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้ผลดีมาก

สมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้ผลดีมาก


เบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด

โรคเบาหวานชนิดที่ ๑ เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อนในส่วนที่ทำหน้าที่สร้างอินซูลินเป็นสาเหตุให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินหรือสร้างได้น้อยมาก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๑ จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินตั้งแต่เริ่มเป็น จึงมักเรียกโรคเบาหวานชนิดนี้ว่าชนิดพึ่งอินซูลิน



โรคเบาหวานชนิดที่ ๒ เป็นเบาหวานที่พบมาก สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม น้ำหนักตัวมาก ขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่อินซูลินไม่สามารถทำหน้าที่เป็นปกติได้



สมุนไพรรักษาเบาหวาน

วิธีการดูแลรักษาโรคเบาหวานที่สำคัญคือการคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น การออกกำลังกายเพื่อให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นและช่วยคุมน้ำหนัก การกินอาหารเพื่อให้ได้ทั้งพลังงานและผลดีต่อสุขภาพ การกินยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอและการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง

ในส่วนการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาลนั้น เป็นการรักษาเพื่อให้มีอินซูลินออกมาให้พอเพียงที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดลงมาสู่ปกติ แต่ไม่ได้เป็นการยับยั้งการดำเนินโรคของเบาหวาน ซึ่งจะมีการสร้างอินซูลินลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งไม่สามารถกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินออกมาได้เพียงพอที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ สุดท้ายต้องพึ่งการฉีดอินซูลิน

การแสวงหาทางออกเพื่อยืดระยะเวลาการไปถึงจุดนั้นจึงมีอยู่เป็นปกติของผู้ป่วยโรคนี้ เป็นเหตุให้สมุนไพรได้รับความนิยมจากผู้ป่วยเบาหวานทั้งหลาย รวมทั้งยังมีผู้คนอีกจำนวนมากเข้าใจผิดว่าโรคเบาหวานสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยสมุนไพร

การใช้สมุนไพรนั้นมิใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียว เนื่องสมุนไพรหลายชนิดมีรายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งยังพบประโยชน์ของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเลือด หรือช่วยให้มีการไหลเวียนของหลอดเลือดเล็กๆ ส่วนปลายดีขึ้น มีวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์อีกด้วย

ดังนั้น การรู้เรื่องของโรคและรู้จักสมุนไพรให้ดีจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นและลดค่ายาแผนปัจจุบันที่ประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถือเป็นการช่วยชาติอย่างหนึ่ง แต่ขอย้ำว่าต้องอยู่บน “พื้นฐานของความรู้” ซึ่งมีหลักการเลือกใช้สมุนไพร ดังนี้

เป็นพืชผักที่กินกันอยู่แล้ว หาง่าย มีความปลอดภัยสูง
มีรายงานการศึกษาสนับสนุนว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดและมีส่วนช่วยคุมน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
มีประโยชน์อื่นๆ นอกจากช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน
มีการยอมรับและใช้ระดับสากล แพร่หลายในตลาดอาหารสุขภาพ  
จากหลักการดังกล่าวข้างต้น สมุนไพรที่มีความโดดเด่นมากที่สุดคือ มะระขี้นก ตำลึง และผักเชียงดา

มะระขี้นก
ขม ขรุขระ ชนะเบาหวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia (L.)

วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออื่นๆ ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) Bitter Cucumber

ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยอายุปีเดียว มีมือเกาะเป็นเส้นยาวออกตรงข้ามใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปฝ่ามือ กว้างและยาวประมาณ ๔-๗ เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึก ๕-๗ แฉก เนื้อใบบาง ก้านใบยาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ แยกเป็นดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองรูประฆัง ผลเป็นรูปรี หัวท้ายแหลม ผิวขรุขระ มีรสขมจัด ผลแก่จัดจะมีสีแดง มะระเป็นพืชที่ขึ้นง่ายตามป่า และสามารถนำมาปลูกเป็นพืชสวนครัวได้

การใช้ประโยชน์อื่นๆ มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย คนไทยทุกภาคนำยอดอ่อนและผลอ่อนมาปรุงเป็นอาหารโดยนำมาลวกเป็นผักจิ้ม อาจจะนำไปผัดหรือแกงร่วมกับผักอื่นแต่นิยมลวกน้ำและเทน้ำทิ้งก่อนเพื่อลดความขม มีวิตามินเอและซีสูง ในส่วนของจีน พม่า อินเดีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ก็กินเป็นผักเช่นเดียวกัน โดยอินเดียจะปรุงเป็นแกง ศรีลังกานำไปปรุงเป็นผักดอง อินโดนีเซียกินเป็นผักสด

การใช้ประโยชน์ทางยา มีการนำมาใช้รักษาโรคเบาหวาน พบในตำรับยาพื้นบ้านของทางอินเดียและศรีลังกา ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศอินเดีย แพทย์แผนเดิมของพม่าและแพทย์จีน มีการสั่งจ่ายมะระขี้นกเป็นสมุนไพรเดี่ยวให้กับผู้ป่วยเบาหวาน

รายงานการศึกษาวิจัย

สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด มีรายงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย พบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง และผู้ป่วยเบาหวาน และสามารถชะลอการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้

จากผลการวิจัยสรุปว่ามะระมีกลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้หลายวิธี คือ ออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสในตับ องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดคือ อินซูลิน คาแรนทิน (charantin) และไวซีน (vicine)

ส่วนการทดลองทางคลินิกมีรายงานว่าน้ำคั้นจากมะระขี้นก ๕๐ มิลลิลิตร และ ๑๐๐ มิลลิลิตร เพิ่มความทนต่อน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ ได้ และยังพบเช่นเดิมในผู้ที่กินผลมะระแห้ง ๐.๒๓ กิโลกรัมต่อวันเป็นเวลา ๘-๑๑ สัปดาห์ และกินผงมะระขี้นกแห้ง ๕๐ มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม เป็นเวลา ๗ วัน

ความเป็นพิษ การศึกษาด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยของมะระขี้นก พบว่าเมล็ดมีสารโมมอร์คาริน (momorcharin) ประกอบที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลองคือ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนูถีบจักร ไม่มีพิษต่อเซลล์ แต่มีผลกระทบต่อเซลล์ของตัวอ่อนในระยะสร้างอวัยวะ ทำให้ส่วนหัว ลำตัว และขามีรูปร่างผิดปกติ แต่เมล็ดก็สามารถแยกส่วนออกไปได้ง่าย ดังนั้น จึงน่าจะมีความปลอดภัยในการนำมาใช้พอสมควร    

มะระขี้นกจึงเป็นพืชผักสมุนไพรตัวแรกที่ควรส่งเสริมให้ใช้เป็นสมุนไพรคู่ใจผู้ป่วยเบาหวาน จากการที่มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดทั้งในสัตว์ทดลองและในคนเป็นจำนวนมาก และรูปแบบวิธีใช้ที่ให้ผลลดน้ำตาลในเลือดก็ไม่ซับซ้อน คือสามารถใช้ได้ทั้งน้ำคั้น ชงเป็นชา หรือกินในรูปแบบของแคปซูล ผงแห้ง ซึ่งจากประสบการณ์ของชาวบ้านไทยมีวิธีการใช้มะระขี้นกควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้

ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ตำรับยา ๑ : น้ำคั้นสด
นำผลมะระขี้นกสด ๘-๑๐ ผล นำเมล็ดในออก ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ปั่นให้ละเอียด กรองกากออกจะได้น้ำดื่มประมาณ ๑๐๐ มิลลิลิตร (หรือกินทั้งกากก็ได้) กินทุกวันติดต่อกัน แบ่งกินวันละ ๓ เวลา
ตำรับยา ๒ : ทำเป็นชา
นำเนื้อมะระผลเล็ก (มีตัวยามาก) ผ่านำเมล็ดออก หั่นเนื้อมะระเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำเดือด (มะระ ๑-๒ ชิ้น น้ำ ๑ ถ้วย) ดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ ๒ ถ้วย วันละ ๓ เวลา หรือจะต้มน้ำดื่มก็ได้ หรือใส่กระติกน้ำร้อนต้มดื่มเป็นกระติกปริมาณมากก็สะดวกดื่มไปเรื่อยๆ แทนน้ำเป็นเวลาประมาณ ๓ สัปดาห์ ไม่เกิน ๑ เดือนก็เห็นผลให้  
ตำรับยา ๓ : ทำเป็นแคปซูลหรือลูกกลอน
กินมะระขี้นก ๕๐๐-๑,๐๐๐ มิลลิกรัม วันละ ๑-๒ ครั้ง
ข้อควรระวังคือ คนท้อง เด็กและคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรกิน

ผักตำลึง
ยาเบาหวาน คลานตามรั้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt, Coccinia cordifolia Gagnep

วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออื่นๆ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเต๊าะ (แม่ฮ่องสอน) ผักตำนิน (อีสาน)

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

ตำลึงเป็นผักที่นิยมนำยอดมาลวกหรือนึ่ง เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำยอดอ่อน ใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงจืด แกงเลียง ใส่ก๋วยเตี๋ยว ผัดน้ำมัน ใส่ในแกงแค แกงปลาแห้ง ผลอ่อนนำมานึ่งกิน ดองกินกับน้ำพริกได้ ผลอ่อนที่ก้านดอกเริ่มจะหลุดกินสดได้กรอบอร่อย ไม่ขม เป็นยาบำรุงสุขภาพ รักษาปากเป็นแผล ผลอ่อนที่ยังหนุ่มๆ อยู่จะมีรสขมต้องคั้นน้ำเกลือให้หายขมก่อนนำมาแกง ส่วนผลสุกคนกินได้ สัตว์ก็ชอบกิน

นอกจากนี้ ตำลึงยังเป็นผักที่ใช้แทนผงชูรสได้ โดยนำใบทั้งแก่ทั้งอ่อนประมาณกำมือใส่ต้มไก่ ต้มปลา ต้มเป็ด จะมีรสชาติออกมาหวานนัวเหมือนกับใส่ผงชูรส

ตำลึงมีวิตามินเอสูงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการตามัวจากการขาดวิตามินเอ และเหมาะกับคนผิวแห้งไม่มีน้ำมีนวล เพราะนอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้วยังมีวิตามินบี ๓ ที่ช่วยบำรุงผิวหนังได้เป็นอย่างดี

ตำลึงเป็นผักที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มากคุณค่าทางโภชนาการ ให้แคลเซียมสูงน้องๆ นม การกินผักตำลึงเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระดูกแข็งแรง

การใช้ประโยชน์ทางยา

ตำลึงเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้รักษาโรคผิวหนังพวกผื่นแพ้ ตำแย หมามุ่ย หนอนคัน บุ้ง หอยคัน มดคันไป ผื่นคันจากน้ำเสีย ผื่นคันจากละอองข้าว ผื่นคันชนิดที่ไม่รู้สาเหตุ เริม งูสวัด สุกใส หิด สิว ฝีหนอง เป็นต้น

ส่วนการกินตำลึงจะช่วยระบายท้อง ลดการอึดอัดท้องหลังกินอาหารเนื่องจากมีสารช่วยย่อยแป้ง และช่วยแก้ร้อนใน เป็นต้น

ที่สำคัญคือตำลึงเป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน ทั้งราก เถา ใบ ใช้ได้หมด มีสูตรตำรับหลากหลาย และในตำราอายุรเวทก็มีการใช้เป็นยารักษาเบาหวานมานานนับพันปี ชาวเบงกอลในอินเดียใช้ตำลึงเป็นยาประจำวันสำหรับแก้โรคเบาหวาน

รายงานการศึกษาวิจัย

สำหรับการรักษาเบาหวานด้วยตำลึงนั้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตำลึงจำนวนมากและเป็นสมุนไพรที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดตัวหนึ่ง จากการทบทวนผลการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดของทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าตำลึงและโสมมีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลการลดน้ำตาลดีที่สุด

ตำลึงแสดงผลการลดน้ำตาลทั้งในคนและสัตว์ทดลอง

สรรพคุณของตำลึงที่ช่วยลดน้ำตาล คือ ใบ ราก ผล มีการศึกษาพบว่าการกินตำลึงวันละ ๕๐ กรัม (ครึ่งขีด) ทุกวันสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ได้
ข้อดีของตำลึงคือปลูกง่าย หาง่ายและราคาถูกกว่าโสมมากโดยเฉพาะในบ้านเรา

ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ตำรับ ๑ : นำรากผักตำลึง รากผักหวานป่า รากฟักข้าว รากกุ่มน้ำ รากุ่มบก ต้มกินติดต่อกันไปเรื่อยๆ
ตำรับ ๒ : ข้อรากผักตำลึงฝนกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาผักตำลึงสับเป็นท่อนๆ ยาว ๒-๓ นิ้ว จำนวน ๑ กำมือ ใส่น้ำพอท่วม ต้มนาน ๑๕-๒๐ นาที นำมาดื่มเช้า-เย็น ติดต่อกันอย่างน้อย ๗-๑๐ วัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด หรืออาจใช้ส่วนของต้น ใบ และราก ต้มรวมกันแทนเถาอย่างเดียวก็ได้
ตำรับ ๓ : นำยอดตำลึง ๑ กำมือหรือขนาดที่กินพออิ่มโรยเกลือหรือเหยาะน้ำปลา (เพื่อให้อร่อยพอกินได้) ห่อด้วยใบตอง นำไปเผาไฟให้สุกแล้วกินให้หมด หรือกินจนอิ่ม กินก่อนนอนติดต่อกัน ๓ เดือน
 
ผักเชียงดา
เกิดมาฆ่าน้ำตาล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne.

วงศ์ Asclepiadaceae

ชื่ออื่น ผักจินดา ผักเซียงดา (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป ไม้เถาเลื้อยยาว เถาสีเขียว ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ใบ เดี่ยว รูปกลมรี ท้องใบเขียวแก่กว่าหลังใบ ใบออกตรงข้อเป็นคู่ๆ
ดอกออกเป็นกระจุกแน่นสีขาวอมเขียว ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นฝักคู่

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา นำมากินเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

ผักเชียงดานิยมนำมาปรุงอาหารรวมกับผักอื่นๆ เช่น ใช้อุ๊บรวมกับผักอื่น ผสมในแกงแค แกงเขียว แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดรวมกับมะเขือ ไม่นิยมนำมาแกงหรือผัดเฉพาะผักเชียงดาอย่างเดียวเพราะรสชาติจะออกขมเฝื่อน (แต่ก็มีบางคนชอบ)

ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรนำผักเชียงดามาปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่เพื่อเก็บยอดขายเป็นเชิงการค้า เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และจันทบุรี สามารถพบผักเชียงดาขายอยู่ที่ตลาดในตัวเมืองเชียงใหม่

การใช้ประโยชน์ทางยา

ผักเชียงดาเป็นผักที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นผักเพิ่มกำลังในการทำงานหนักและใช้เป็นยารักษาเบาหวานเช่นเดียวกับอินเดียและประเทศแถบเอเชียมานานกว่า ๒ พันปีแล้ว

ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนัก เพราะว่าผักเชียงดาช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพบมีรายงานการศึกษาว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง

แคปซูลผักเชียงดายังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรูปแบบผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก (gynemic acid) ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ คือ ๑ แคปซูลส่วนใหญ่จะมีผงยาของเชียงดาอยู่ ๕๐๐ มิลลิกรัม

การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ ๘-๑๒ กรัมของผงแห้งต่อวันโดยกินครั้ง ๔ กรัม วันละ ๒-๓ ครั้งก่อนอาหาร

รายงานการศึกษาวิจัย

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๙ และปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนที่เป็นอาสาสมัครที่แข็งแรง พบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูบีตาเซลล์ของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒

นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ ในการลดน้ำตาลในเลือดและมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาดราส ประเทศอินเดียโดยศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูด้วยการให้สารพิษที่ทำลายบีตาเซลล์ในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดา (ทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัด) มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน ๒๐-๖๐ วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของบีตาเซลล์เพิ่มขึ้น

ในปีเดียวกันนี้ มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผักเชียงดาสามารถลดการใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน และบางรายสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวสำหรับการคุมระดับน้ำตาลในเลือด

จากการศึกษานี้ ยังพบว่าปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (hemoglobin A1c) ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดในช่วง ๒-๔ เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดี ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบาหวาน นอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินได้อีกด้วย
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ค้นพบว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็ก

ปี พ.ศ.๒๕๔๔ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์ (pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดาโดยใช้วิธีเทียบเคียงสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-activity relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสาระสำคัญ ๔ ตัว (GIA-1, GiA-2, GIA-5, และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่าสามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมา วิธีการนี้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและมีปริมาณสูง ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของผักเชียงดาอย่างมาก

ปี พ.ศ.๒๕๔๖ นักวิทยาศาสตร์รายงานถึงผลของสารสกัดผักเชียงดาในหนูซึ่งนอกจากจะพบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินแล้ว ยังลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย ทั้งยังเพิ่มปริมาณของสารกลูตาไทโอน วิตามินซี วิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบอีกว่าสารสกัดผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสูงกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานที่มีชื่อว่า ไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide)

นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความเป็นพิษของผักเชียงดาไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด
ผักเชียงดาไม่ได้ลดน้ำตาลในเลือดในคน และถ้าใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำแต่อย่างใดยกเว้นการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ลดน้ำตาล

ตำรับยาแก้ไข้ แก้เบาหวาน
ใช้ราก เถา หรือใบ ตากแห้ง บด ชงเป็นชาดื่ม

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ตะไคร้มีประโยชน์อย่างไร

ตะไคร้มีประโยชน์อย่างไร

      นอกจากทำต้มยำอร่อยเเล้วยังสามารถนำมาเป็นน้ำดื่มไ้ด้อีกนะครับ ความจริงเเล้วอาหารเสริมเนี่ยไม่จำเป็นหรอกครับกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็พอครับ ผมว่าเเค่นี้ก็เพียงพอเเล้ว เเต่อาหารต้องหลากหลายครับ ไม่ใช่กินอยู่อย่างนั้นอย่างเดียว




ส่วนผสม
 
ตะไคร้ทั้งต้นและใบ 1 กิโลกรัม
(ต้น 600 กรัม ใบ 400 กรัม)

 น้ำเปล่า 4 ลิตร
 น้ำตาลทราย 400-700 กรัม
 กรดมะนาว 0.5-1 กรัม

 
 
วิธีทำ

ล้างตะไคร้ให้สะอาด ตัดเป็นท่อนสั้นๆ นำไปต้มกับน้ำเปล่า 4 ลิตร ประมาณ 5-10 นาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น เพื่อกันไม่ให้มีเศษตะกอนของใบตะไคร้


ผสมน้ำตาลทราย คนจนน้ำตาลละลายหมด ถ้าชอบรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย ให้เติมกรดมะนาว เพื่อความชุ่มคอชื่นใจ แล้วกรองอีกครั้ง ตั้งให้เดือด 1-2 นาที ยกลงกรอกใส่ขวดแก้วที่ล้างสะอาด คว่ำให้แห้ง ขณะร้อนอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ถ้ากรอกลงขวดพลาสติก ต้องลดให้อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส กรอกให้เต็มขวด ปิดฝาให้สนิท แล้วแช่น้ำเย็นทันที เมื่อขวดเย็น ให้รีบนำเข้าตู้เย็น สามารถเก็บไว้ได้ถึง 14 วัน

หมายเหตุ :

ตะไคร้ ถ้าไม่ใช้สด อาจทำโดยนำตะไคร้ทั้งต้น และใบล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้นๆ นำเข้าตู้อบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นานประมาณ 2 ชั่วโมง ผึ่งไว้ให้เย็น บรรจุใส่ถุงปิดมิดชิด เวลาจะใช้นำมาต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำ ถ้าไม่อบ อาจนำมาคั่วกับกระทะ จนมีกลิ่นหอม นำไปต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำนำไปปรุงรส

คุณค่าทางอาหาร :  มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร

คุณค่าทางยา :  แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดี ช่วยลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตสูง



วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เเกท้องผูกด้วยสมุนไพรไทย

เเกท้องผูกด้วยสมุนไพรไทย

ท้องผูกต้องแก้ให้ถูกวิธี (ชีวจิต)

          ผู้ที่มีอาการท้องผูกมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อยร่วมด้วย เวลาเข้าห้องน้ำต้องออกแรงเบ่งมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบขับถ่าย เป็นริดสีดวงทวาร หรือแม้กระทั่งไส้ติ่งอักเสบ ที่สำคัญ อาการท้องผูกมักเป็นอาการหนึ่งเมื่อระบบลำไส้ใหญ่มีความผิดปกติ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ริดสีดวงลำไส้ เป็นต้น



ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

          อาการท้องผูกส่วนใหญ่มาจากการมีพฤติกรรมการกิน การขับถ่ายและการใช้ชีวิตประจำวันผิด ๆ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำต่อไปนี้ดูนะคะ

           1.ดื่มน้ำ กินผัก ผลไม้ทั้งสดและแห้ง หรืออาหารที่มีกากใยมาก ๆ รวมทั้งข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มเส้นใยช่วยการขับถ่ายได้
           2.ไม่ควรเร่งรีบในขณะที่กินอาหาร ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หรือกินมะละกอสุกก่อนอาหาร และดื่มน้ำตามมาก ๆ นักธรรมชาติบำบัดเชื่อว่า การกินอาหารจากธรรมชาติเป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งอาจทำได้โดยการกินรำข้าวเสริม โดยโรยลงไปบนอาหาร

           3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น
           4.อย่ากลั้นอุจจาระ ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวด หรือหลังจากที่กินอาหารเช้าที่เป็นธัญพืช โดยพยายามนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที หรือฝึกนิสัยการขับถ่ายเป็นเวลาให้ตัวเอง
           5.สำหรับทารกหากมีอาการท้องผูก อาจเพิ่มน้ำตาลประมาณ 1 ช้อนชาในนม 1 ขวด จะช่วยให้ถ่ายบ่อยขึ้น แต่ถ้าให้น้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย ส่วนในผู้สูงอายุควรถ่ายอุจจาระเป็นเวลา ถ้าจำเป็นอาจต้องให้ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ ยาระบาย ใช้ยาเหน็บ หรือสบู่เหน็บ จนกว่าการขับถ่ายเป็นปกติ
           6.ถ้าท้องผูกจนต้องเบ่ง และทำให้รู้สึกไม่สบาย อาจทำให้อุจจาระนุ่มลง โดยใช้ยาเหน็บกลีเซอริน (ขนาดสำหรับเด็ก) หรือสบู่ชิ้นเล็กยาว 13 มิลลิเมตร สอดเข้าทางทวารหนัก แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ทันที

แก้ท้องผูกด้วยสมุนไพร
           มะขาม กินมะขามฝักแก่ หรือมะขามเปียก 10-20 ฝัก จิ้มเกลือ หรือคั้นเป็นน้ำดื่ม
           ขี้เหล็ก นำแก่น 50 กรัม ราก ลำต้น ดอก ใบ และผลของขี้เหล็ก รวมทั้งหมด 20-25 กรัม ไปต้ม เอาแต่น้ำ ดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน
           มะเฟือง ขณะท้องว่างประมาณ 1 ชั่วโมง กินมะเฟืองที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ลูก นอกจากจะเป็นยาระบายได้แล้ว มะเฟืองยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
           เมล็ดชุมเห็ดไทย นำเมล็ดชุมเห็ดไทยประมาณ 1 กำมือ มาคั่วให้เหลือง แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาดปริมาณ 1-2 แก้วจนเดือด นอกจากจะช่วยระบายท้องแล้ว เมล็ดชุมเห็ดไทยยังมีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับสบาย

ดูแลตัวเองด้วยการแพทย์แผนไทย

          ศาสตร์ทางด้านการแพทย์แผนไทย ก็มีสูตรที่น่าสนใจให้ลองปฏิติบัติเช่นกันค่ะ
           1.รำข้าว สามารถดูดซับน้ำไว้ได้ถึงเก้าเท่าของน้ำหนักตัวมันเอง จึงช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดี การเติมรำข้าวลงไปในอาหารจะช่วยให้ถ่ายสะดวก แต่ต้องดื่มน้ำตามให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ควรกินรำข้าววันละ 1-3 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามเสมอ

           2.สำหรับการรักษาในระยะยาว ไม่ควรพึ่งรำข้าวเพียงอย่างเดียว เพราะรำข้าวมีส่วนประกอบบางอย่าง ที่ขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมเกลือแร่บางชนิด และยังทำให้ท้องมีลมมากหรือท้องอืด แต่อาการนี้จะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์

           3.กินอาหารหมักดองต่าง ๆ เช่น ผักเสี้ยนดอง หน่อไม้ดอง หัวหอมดอง หรืออาหารหมักดองโบราณ ที่ใช้น้ำซาวข้าวในการดอง

ท่าแถม...ทำง่ายถ่ายคล่อง
          การรำกระบอง นอกจากจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมลูกหมากในผู้ชาย รังไข่ และมดลูกในผู้หญิงแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากจุดประสาทบริเวณก้นกบ จะบังคับระบบขับถ่าย การเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่
           1.ยืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย
         
           2.นำกระบองไว้ด้านหลัง ลำตัวบริเวณบั้นเอว โดยใช้วงแขนสองข้างคล้องกระบองเอาไว้ ฝ่ามือประสานกันไว้ด้านหน้า หรือฝ่ามือแนบวางราบกับหน้าท้องก็ได้

           3.เขย่งให้ส้นเท้าขึ้นสูงสุดเท่าที่จะทำได้
           4.ลดตัวลงนั่ง โดยยังคงเขย่งส้นเท้าอยู่ ตามองตรง ไม่ก้มหน้า ไหล่ตรงผึ่งผาย ลำตัวตั้งตรง แล้วขย่มตัวให้ก้นแตะส้นเท้า 3 ครั้ง จากนั้นยืนขึ้น โดยเขย่งส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา
           5.เมื่อตัวตั้งตรงแล้ว ลดส้นเท้าลงสู่พื้น นับเป็นหนึ่งครั้ง
           6.ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 3 - 5 ให้ครบ 30-50 ครั้ง

ที่มา kapook

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรเเก้ปวดเมื่อย

สมุนไพรเเก้ปวดเมื่อย


ขนานที่ ๑ ตำรับยารักษากระดูกทับเส้น
ของคุณพาณี นิ่มนุ่ม (ลูกสาวหมอยา "คุณพ่อพรหม นิ่มนุ่ม" แห่งจังหวัดสุโขทัย แฟนรายการวิทยุ สุขภาพสู่เศรษฐกิจ)

บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : โด่ไม่รู้ล้ม
ใช้โด่ไม่รู้ล้ม (เอาเฉพาะส่วนเหนือดิน)ทองพันชั่ง (เอาเฉพาะกิ่งก้าน ไม่เอาใบ) เถาโคคาน ต้มน้ำกิน



ขนานที่ ๒ ยาแก้อักเสบ ปวดข้อและรักษาโรคเก๊าท์
บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : ผักกะสัง
ใช้ต้นผักกะสังยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ต้มกับน้ำ ๒ แก้วให้เหลือ ๑ แก้ว แบ่งรับประทานครึ่งแก้ว เช้า-เย็น หรือกินสดๆ เป็นผักก็ได้

ขนานที่ ๓ ยาแก้ปวดเข่า ข้ออักเสบ
บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : ลูกใต้ใบ
(ตำรับของคุณพานี นิ่มนุ่ม)
ลูกใต้ใบทั้งห้า กับหญ้าดอกขาวทั้งห้า ต้มน้ำกิน


ขนานที่ ๔ ยาแก้ปวดในกระดูก แก้ไข้ รักษาแผลเรื้อรัง
บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : ครอบฟันสี
ใช้ครอบฟันสีทั้งห้า ต้มกินและอาบ หรือนำมาประคบร่วมด้วย

ขนานที่ ๕ ยาแก้ปวดเมื่อยแก้เอ็นขัด บำรุงเอ็น
บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : โด่ไม่รู้ล้ม

ใช้โด่ไม่รู้ล้มทั้งห้า ต้มกิน ต้มอาบ
ใช้โด่ไม่รู้ล้มทั้งห้า แห้ง ๑ ส่วน เถาโคคลานสับเป็นชิ้นเล็กๆ แห้ง ๑ ส่วน ทองพันชั่งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ๑ ส่วน
ใช้รากโด่ไม่รู้ล้มดองเหล้ากินหรือผสมกับยาตัวอื่นก็ได้
ขนานที่ ๖ ตำรับยาบำรุงข้อกระดูก
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : กระเจี๊ยบเขียว
ตำรับของนายเซ็ง นาสูนา หมอยาพื้นบ้านตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
นำผล จำนวน ๓ ผล กินสดหรือต้มกินกับหอมแดงขนาดใหญ่ ๑ หัว เพื่อบำรุงร่างกายและเพิ่มความยืดหยุ่นในกระดูกโดยเชื่อว่าเมือกในกระเจี๊ยบจะช่วยได้

ขนานที่ ๗ ตำรับยาประคบกระดูก เคล็ด ข้อหลุด
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ผักกูด
(ตำรับหมอโจป่องหมอยากะเหรี่ยง)
ใช้เหง้าผักกูดน้อยตำรวมกับหัวตะไคร้

ขนานที่ ๘ ตำรับยารักษาอาการปวดข้อ ช้ำบวม
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : ผักแต๊ง
นำใบผักแต๊งมาตำใช้พอกหรือห่อเป็นลูกประคบ ประคบบริเวณที่มีอาการ เช้า-เย็น

ขนานที่ ๙ ตำรับยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ
บันทึกของแผ่นดิน ๒ ผัก เป็นยา รักษา ชีวิต : เพกา
เอาเปลือกเพกาบดเป็นผงกินหรือเอารากมาต้มกิน

ขนานที่ ๑๐ ตำรับยารักษารูมาตอยด์ อักเสบ ปวด บวม
บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว : โคกกระออม
เคี่ยวหรือบดใบโคกกระออม ๒ ถ้วย กับน้ำมันงา ๑ ถ้วย ทาแก้รูมาตอยด์ ลดการอักเสบ ปวด บวม และบรรเทาอาการปวดเมื่อย ซึ่งอาจใช้การทาถูนวดอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับการรับประทานยาต้ม โดยต้มใบโคกกระออม ๑ กำมือกับน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวให้เหลือ ๑ แก้วรับประทานครั้งละ ๑/๒ แก้ว วันละ ๓ เวลา

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ยาหม่องคืออะไร


ยาหม่องคืออะไร
ยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ

ในสมัยก่อนเมื่อรู้สึกมีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เคล็ดขัดยอก ผื่นคันจากแมลงกัดต่อย ทุกคนมักจะนึกถึงยาหม่อง ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ ยาหม่องขมิ้นชันเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้มาช้านาน นับเป็นอีกหนึ่งมรดกภูมิปัญญาอัศจรรย์ของการแพทย์แผนไทย

 ส่วนผสมของยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ
(ขนาด 500 กรัม)

วาสลินขาว   75 กรัม
การบูร   100 กรัม
เมนทอล   70 กรัม
ขี้ผึ้ง   100 กรัม
น้ำมันสะระแหน่   80 กรัม
น้ำมันกานพลู   5 กรัม
น้ำมันเขียว   65 กรัม
สารสกัดขมิ้นชัน   5 กรัม
วิธีทำยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ

นำหม้อแสตนเลสสตีล ใส่วาสลินและขี้ผึ้งลงไป วางหม้อวาสลินลงในหม้ออีกใบที่ใหญ่กว่า ทำการตุ๋นด้วยความร้อนจากหม้อใบใหญ่ที่ใส่น้ำ ใช้ไฟกลาง ๆ กวนให้เข้ากัน ห้ามใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
หลังจากวาสลินและขี้ผึ้งละลายหมดแล้ว ให้ยกลงจาดเตา ใส่น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกานพลู น้ำมันเขียว เมนทอล และการบูร ผสมกันทั้งหมดคนให้เข้ากันดี
เติมสารสกัดขมิ้นชัน คนให้เข้ากันอีกครั้ง
นำส่วนผสมที่ได้เทใส่ขวดที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปิดฝา
 สรรพคุณของยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ
บรรเทาอาการวิงเวียน ดมแก้หวัด ใช้ทาแก้ผื่นคันจากแมลงกัดต่อย รักษากลากเกลื้อน ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เคล็ดขัดยอก

• หมายเหตุ
วิธีการสกัดขมิ้นชัน
นำขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม ล้างให้สะอาดปั่นให้ละเอียด นำไปหมักในแอลกอฮอล์หรือเหล้าขาว 1 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน พอครบก็กรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำ จากนั้นก็เอาตัวยาไประเหยให้แห้งโดยนำไปตั้งบนหม้ออังไอน้ำ จนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำยา ก็จะได้สารสกัดขมิ้นชันเข้มข้นพร้อมใช้ทำยาหม่อง

เรียบเรียงสูตรและวิธีการทำ
ยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สรรพคุณทางสมุนไพรของมะนาว

สรรพคุณทางสมุนไพรของมะนาว


ผลมะนาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 4.5 ซม. ต้นมะนาวเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย มักมีขนดก ใบยาวเรียวเล็กน้อย คล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าหนาว จะออกผลน้อย และมีน้ำน้อย



มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส

ในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึง 7% แต่กลิ่นไม่ฉุนอย่างมะกรูด น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม และการบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ทว่าเพิ่งได้ทราบเมื่อไม่ช้านานมานี้ (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 2) ก็คือ การส่งเสริมโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเคยเป็นปัญหาของนักขายโรตีมาช้านาน ภายหลังได้มีการค้นพบว่าสาเหตุที่มะนาวสามารถช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด เพราะในมะนาวมีไวตามินซีเป็นปริมาณมาก

มะนาวมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นสดชื่น เพราะมีส่วนประกอบของสารซิโตรเนลลัล (Citronellal) ซิโครเนลลิล อะซีเตต (Citronellyl Acetate) ไลโมนีน (Limonene) ไลนาลูล (Linalool) เทอร์พีนีออล (Terpeneol) ฯลฯ รวมทั้งมีกรดซิตริค (Citric Acid) กรดมาลิค (Malic Acid) และกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อมๆ กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง

ชื่อของมะนาว

มะนาวก็เหมือนกับส้มทั้งหลาย ที่มีปัญหาในการจัดหมวดหมู่และแยกแยะทางอนุกรมวิธาน สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ที่ค้นเคยของมะนาว ก็คือ Citrus aurantifolia Swingle หรือ "Citrus aurantifolia" ( Christm & Panz ) Swing." แต่ยังมีชื่ออื่นๆ อีก ดังนี้
C. acida Roxb.
C. lima Lunan
C. medica var. ácida Brandis และ
Limonia aurantifolia Christm

สำหรับชื่อสามัญนั้น ในหลายภาษาก็เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ในภาษาอังกฤษ เรียก Mexica lime, West Indian lime, และ Key lime หรือเรียก lime สั้นๆ ก็ได้ สาเหตุที่มีหลายชื่ออาจเป็นเพราะเป็นพืชต่างถิ่น จึงไม่มีชื่อดั้งเดิมในภาษานั้นๆ ทำให้เกิดการเสนอชื่ออื่นๆ มาหลายชื่อก็เป็นได้ ส่วนในประเทศไทยยังเรียกอีกหลายชื่อ เช่น โกรยชะม้า, ปะนอเกล, ปะโหน่งกลยาน, มะนอเกละ, มะเน้าด์เล, มะลิ่ว, ส้มมะนาว, ลีมานีปีห์, หมากฟ้า

อนึ่ง คำว่า เลมอน (lemon) ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ผลส้มอีกชนิดหนึ่ง ที่หัวท้ายมน ไม่ใช่ผลกลมอย่างมะนาวที่เรารู้จักกันดี สำหรับ มะนาวเทศ (Triphasia trifolia) นั้น เป็นพืชในวงศ์เดียวกัน (Rutaceae) กับมะนาว แต่ต่างสกุล ส่วน มะนาวควาย หรือ ส้มซ่า (Citrus medica Linn. Var. Linetta.) เป็นพืชสกุลส้มเช่นเดียวกัน แต่ต่างชนิด (สปีชีส์) กัน

ส้มนาวเป็นภาษาใต้ที่ใช้เรียกมะนาว เช่นเดียวกับทางภาคอีสานเรียกผลไม้บางอย่างว่า"บัก"ในการขึ้นต้น เช่นบักม่วงที่หมายถึงมะม่วง คำว่าส้มในภาษาใต้จะใช้เรียกผลไม้บางชนิดที่มีรสเปรี้ยว อย่าง ส้มนาว ส้มขาม เป็นต้นมะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค ไวตามินซี จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาว มีไวตามินเอ และซี ทั้งยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาวอีกด้วย

มะนาวมีประโยชน์ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตา บำรุงผิว และยังสามารถมีฤทธิ์ในการกัดด้วยเป็นต้น


วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของเห็ดชนิดต่างๆ

ประโยชน์ของเห็ดชนิดต่างๆ


  1. เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2สูงพอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัดชาวจีนยกให้้เห็ดหอมเป็็นอาหารต้้นตำรับ “อมตะ”
  2. เห็ดหูหนู  เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่าง กายดี ขึ้น รว มทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาวช่วยบำรุงปอดและไต
  3. เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เช่น เบต้ากลูแคนซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
  4. เห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญองรูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มี ให้เลือกทั้งแบบสด หรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้อง กันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่ สุดโดยสารบางอย่างในเห็ด นี้จะไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  เมื่อร่างกาย ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
  5. เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน เจ ริญเติบโตเป็นช่อ ๆคล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำ และเนื้อเหนียวหนานุ่ม อร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัดช่วยการไหลเวียนของเลือด และโรคกระเพาะ
  6. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าว ชื้น ๆ โคน มี สีขาว ส่วนหมวกมีสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้ วิตามินซีสูง และ มีกรดอะ มิโนสำคัญอยู่หลายชนิดหากรับประทาน เป็นประจำจะช่วยเสริม ภูมิคุ้มกันการ ติดเชื้อต่างๆ อีก ทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
  7. เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาวหัวเล็ก ๆ ขึ้นติดกัน เป็นแพ รส ชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใ ส่ กับสลัด ผักก็ ได้ ถ้าชอบสุกก็ นำ ไปย่าง ผัดหรือลวกแบบ สุกี้ ถ้ากินเป็นประจำ จะช่วยรักษาโรคตับโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  8. เห็ดโคน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิดแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่า น้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่นเชื้อไทฟอยด์
เห็ดที่นักวิทยาศาสตร์นิยมเอามาวิเคราะห์ว่ามีสรรพคุณทางยานั้นส่วนใหญ่เป็นเห็ด ชนิดที่คนมักนำมาปรุงอาหารและหาได้ง่าย เช่น เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าเห็ดฟาง เห็ดโคน เห็ดหูหนู และ เห็ดหลินจือ อีกทั้งผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าเห็ดแชมปิญอง มีบทบาทช่วยในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด เมื่อเทียบกับเห็ดรับประทานได้ชนิดอื่นๆโดยสารบางอย่างในเห็ดชนิดนี้ไปช่วย ยับยั้งเอ็นไซม์ aromatase ทำให้เกิดการยับยั้งการแปรฮอร์โมนแอนโดรเจนให้กลายเป็นเอสโตรเจนในผู้หญิง วัยหมด ประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย และในประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองนำเห็ดหอมมาสกัด พบว่าในเห็ดหอม ให้น้ำตาลโมเลกุลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า เบต้ากลูแคน ถึง 2 ชนิดได้แก่ lentinan และ LEM (Lenti nula edodes mycelium) ซึ่งช่วยทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อ และชะลอการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งในการทดลองให้สาร lentinan กับผู้ป่วยมะเร็งร่วมกับการทำเคมีบำบัดก็พบว่าก้อนมะเร็งมีขนาดลดลง และอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดก็เกิดขึ้นน้อยลงด้วย เห็นความอัศจรรย์ของพืชตระกูลต่ำหรือยังคะ ไม่ได้ด้อยประโยชน์เหมือนทีโดนกล่าวหาเลย
ที่มา http://www.meedee.net/magazine/med/foods-security/1550

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรที่นิยมนำมาทำอาหาร

สมุนไพรที่นิยมนำมาทำอาหาร


อาหารไทยมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยาเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพสูงสุดทั้งในแง่การป้องกันและการบำรุงรักษา ในปัจจุจบันอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมระดับนานาชาติ มีร้านอาหารไทยจำนวนมากเปิดในเมืองใหญ่ต่างประเทศ เช่น ลอสแอนเจลลิสและนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษและเมืองต่างๆ อีกมากมาย

กรรมวิธีในการจัดเตรียม ประกอบ ตกแต่งอาหารไทยให้อร่อยต้องเริ่มต้นด้วยความพิถีพิถันในการเลือกซื้อเครื่องปรุงที่สดใหม่ จัดเก็บเพื่อรอนำไปประกอบอาหารด้วยวิธีที่ถูกต้อง วัตถุดิบในส่วนของพืชผักและสมุนไพรที่ใช้ในการทำอาหารไทยมีหลากหลายประเภทและพืชผักสมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหารซึ่งพืชผักและสมุนไพรไทยที่เป็นเครื่องปรุงหลักๆ มีดังต่อไปนี้

ใบกระเพรา

ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ใบสดมีน้ำมันหอมระเหยเป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง นอกยังมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาล ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันและความดันโลหิตสูง

ไม่เฉพาะแต่คนไทยเท่านั้นที่รู้จักรับประทานใบกะเพราเป็นอาหารและยา ชาวเอเชียทุกชาติก็รู้จักใบกะเพราและบางชาติก็รู้จักใช้ประโยชน์จากใบกระเพราด้วย อย่างเช่นชาวอินเดียที่บูชาใบกระเพราเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ตั้งชื่อให้ว่า โฮลลี่ เบซิลและยังใช้สมุนไพรตัวนี้ปรุงอาหารประจำวัน ซึ่งก็ไม่ต่างกับคนไทยที่อาศัยกลิ่นและรสของใบกระเพราดับกลิ่นคาวและชูรส


อบเชย



ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ทำให้ท้องเป็นปกติดี ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ย่อยไขมัน แก้อ่อนเพลีย มีสารต้านแบคทีเรียและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน
นิยมใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกระหรี่ประเภทผัด ใช้เป็นไส้กระหรี่ปั๊ปหรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรลล์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นมและนอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่งและยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย


พริกขี้หนู

ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: บรรเทาอาการไข้หวัดและการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดการอุดตันของหลอดเลือด ลดปริมาณสารโคเลสเตอรอล บรรเทาอาการเจ็บปวด
พริกขี้หนูโดยปกติผลมักชี้ขึ้น มีลักษณะทั้งแบนๆ กลมยาวจนถึงพองอ้วนสั้น ขนาดของผลมีตั้งแต่ขนาดผลเล็กไปจนกระทั่งมีผลขนาดใหญ่ ผลแก่มีรสเผ็ดจัด ในการนำมาประกอบอาหารสามารถใช้ได้ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง พริกป่นหรือนำมาดองกับน้ำส้ม พริกเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำพริกแกง ใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเผ็ดตามต้องการในอาหารไทยทุกประเภท


พริกชี้ฟ้า

ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: พริกชี้ฟ้าทำให้เจริญาอาหาร ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น แก้หวัด ขับลม ช่วยสูบฉีดโลหิต บำรุงธาตุ และยังมีวิตามินเอสูง ซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระอันก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กะเพรามีสรรพคุณเป็นสมุนไพรชั้นเลิศ

กะเพรามีสรรพคุณเป็นสมุนไพรชั้นเลิศ

พูดก็พูดนะครับ อาหารไทยเรานี่จัดว่าเป็นยา มากกว่าอาหารที่ใดในโลกก็ว่าได้นะครับลองคิดดูนะครับ ใบกะเพราะใครจะไปคิดว่ามีประโยชน์ขนาดนี้หละครับ 



กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum) เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 - 60 ซม. นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว

กะเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กอมก้อ (เชียงใหม่) กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขน (กลาง) กะเพราขาว (กลาง) กะเพราแดง (กลาง) ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) และ อีตู่ไทย (ตะวันออกเฉียงเหนือ)


สรรพคุณกะเพรา

ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ[
น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม
 

กะเพราลดน้ำตาลและไขมัน
ข้าวผัดกระเพรา เป็นอาหารที่ทุกคนมักจะรู้จัก และคุ้นเคยอย่างดี สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเป็น อาหารที่ปรุงง่าย ไม่มีพิธีรีตองอะไรมากมายแถมรสชาติก็อร่อย 

         นอกจากจะมีกลิ่นหองเฉพาะตัว ยังมีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น ใบสดของกะเพรามีน้ำมัน หอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และmethyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อปวด ท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้มให้ เดือด แล้วกรองเอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับ น้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่ เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย 

         สำหรับ ใบแห้ง ใช้ชงดื่มกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ ได้นาน 2 ชั่วโมง เมล็ดกะเพรา เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผงหรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาของเราช้ำ รากกะเพรา ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า กะเพรา มีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันได้

 

ข้อมูลจาก
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี