บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดอกไม้มีสรรพคุณทำเป็นสมุนไพร

ดอกไม้มีสรรพคุณทำเป็นสมุนไพร


ดอกไม้ นับวันดอกไม้ไทยก็จะหาดูได้ยาก มีอยู่บางชนิดเท่านั้นที่ยังคงปลูกเอาไว้ เป็นไม้ประดับ บางชนิดเป็นต้นไม้ใหญ่ ต้องปลูกไว้ในสวน ถ้าไม่มีดอกก็ดูไม่ออกว่าเป็นต้นอะไร จึงขอรวบรวมไม้ไทยที่รู้จัก นอกจากจะมีดอกสวยมีกลิ่นหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยารวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นความรู้ให้ประโยชน์กับชีวิตประจำวัน



ดอกกระดังงาไทย เป็นไม้ยืนต้น ใบเขียวและโต ดอกออกเป็นกลีบ ๆ ยาวและอ่อน เกสรกลางแบนสีเขียว ๆ เหลือง กลิ่นหอม ประโยชน์ทางยา ใบและเนื้อไม้ ดอก ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ ดอกปรุงเป็นยาหอมแก้ลม วิงเวียน ชูกำลังทำให้ใจชุ่มชื่น นำดอกมาลนไฟใช้อบขนมไทยให้หอม
ดอกกระถินขาว เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อย ใบเล็กเป็นฝอย ดอกขาวกลมเท่าใบพุทรา ดอกใช้เป็นยาบำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นที่ตา

ดอกขจร เป็นไม้เถาเลื้อย มีสรรพคุณทางยา ใช้รากผสมยาหยอดรักษาตา รับประทานทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้รู้รสอาหาร ดับพิษ ทำอาหาร

ดอกขี้เหล็ก ต้นขี้เหล็กเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ราก ลูก ดอก ใบ รวมกัน รับประทานเป็นยาถ่ายพิษ กษัย พิษ ไข้ พิษเสมหะ เหน็บชา

ดอกข้าวสาร เป็นต้นไม้ปลูกประดับลงดิน กลางแจ้ง ให้เลื้อยพันรั้ว รากใช้ทำยาหยอดตา แก้ตาฝ้า ตามัว ตาแดง เข้ายาถอนพิษ ยาเบื่อเมา ดอกนำมาทำแกงส้มได้

ดอกเข็มขาว เป็นต้นไม้พุ่ม ใช้ดอกใส่พานบูชาพระ ให้ประโยชน์ในทางยา รากมีรสหวาน รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร

ดอกเข็มแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ให้ประโยชน์ทางยา รากแก้เสมหะ แก้กำเดา บำรุงไฟธาตุ แก้บวม แก้ตาพิการ ดอกนำมาชุปแป้งทอดเป็นเหมือดในขนมจีนน้ำพริก

ดอกแค เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ใบเล็กกลมยาวเป็นคู่ ๆ ดอกคล้ายดอกถั่ว ใช้ดอกใบ เปลือก ราก เป็นยา ดอกนำมาต้มจิ้มน้ำพริก ทำแกงส้ม ประโยชน์ในทางยา เปลือกนำมาต้ม คั้นน้ำ แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด คุมธาตุ

ดอกการะเกด เป็นพวกเตย ลำเจียก มีดอกพุ่มแลบออกมาตามกลีบต้น

ดอกกาหลง ดอกขาวใหญ่ ขนาด 5-8 ซ.ม. ดอกเป็นช่อแบน ช่อละ 3-10 ดอก กลิ่นหอมเย็น ดอกใช้แก้ปวดศรีษะ ลดความดันโลหิต แก้โรคโลหิตออกตามไรฟัน แก้เสมหะพิการ

ดอกกรรณิการ์ ดอกสีขาวคล้ายดอกพุดฝรั่ง ออกเป็นช่อ ก้านดอกสีแดง สีส้ม สีจากก้านดอกคั้นเอาน้ำไปทำสีขนม และย้อมผ้าได้ ต้มดื่มแก้ปวดศรีษะ ใบใช้บำรุงน้ำดี ดอกใช้แก้ไข้ แก้ลม แก้ผมหงอก น้ำที่ต้มดอกกรรณิการ์ อาบบำรุงผิวหนังให้สดชื่น ต้นและราก มีรสหวานและฝาด ต้มหรือฝนผสมน้ำสำหรับจิบแก้ไอ

ดอกแก้ว ดอกเล็กสีขาวสะอาด มีกลีบ 5 กลีบ เกสรสีขาวปนเหลืองหอม กลิ่นแรง ผลคล้ายมะแว้งลูกเขื่อง ๆ เป็นยาขับประจำเดือน เรียกว่ายาประสะใบแก้ว ใช้เป็นยาแก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ผายลม บำรุงโลหิต
ดอกกฤษณา ดอกใหญ่เป็นช่อ ดอกมีกลิ่นหอม บำรุงโลหิต หัวใจ ทำให้ตับและปอดเป็นปกติ ใช้เป็นเครื่องปรุงยาหอม แก้ลม หน้ามือวิงเวียน ผสมเครื่องหอมทุกชนิด เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนัง

ดอกคัดเค้า มีสรรพคุณในทางยา มีรสฝาด แก้โลหิตเป็นพิษ และขับเสมหะ แก้ไข้ ใช้ใบแก้โลหิตซ่าน ดอกแก้โลหิตในกองกำเดา ผลใช้ขับโลหิต ประจำเดือน ต้นใช้บำรุงโลหิต รากแก้วต้ม แก้โลหิตออกตามไรฟัน ผลใช้ต้มดื่ม ขับฟอกโลหิตเน่าเสียของสตรี และใช้เป็นยาบำรุงโลหิต

ดอกบัวหลวง มีทั้งสีชมพูและสีขาว ใช้บูชาพระ เมล็ดทั้งอ่อนและแก่รับประทานได้ เมล็ดบัวทำอาหารทั้งของหวานและของคาว เมล็ดบัวแก่จัดนำมาทำแป้งขนม รากและเหง้า เอามาต้มน้ำดื่ม แก้ร้อนใน ในทางยา ใช้เกสรเหง้า และเมล็ดบัวเป็นเครื่องสมุนไพร เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
ดอกลำเจียก ดอกโตมีเกสรอยู่กลางรอบนอก คล้ายใบอ่อน มีสีขาวหุ้มอยู่ มีกลิ่นหอมเย็น มีชื่อเรียกลำจวน รัญจวน ปาหนัน ใบไม้จำพวกเตยใบใหญ่ รากแก้พิษไข้ พิษเสมหะ พิษโลหิต ขับปัสสาวะ หนองใน มุตกิด แก้นิ่ว

ดอกเล็บมือนาง มี 3 สี ขาว ชมพู และแดง ใบและต้นขับพยาธิ ตาน ทราง ผล รับประทานทำให้หายสะอึก รากปรุงเป็นยาขับไส้เดือน แก้อุจจาระเป็นฟอง และโลหิตขาวมีกลิ่นเหม็นคาว ใบใช้โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำชโลมทาแผล ฆ่าเชื้อโรคสำหรับเด็ก นิยมปลูกริมรั้วเพื่อดูดอกสวย

ดอกสารภี ดอกเป็นช่อมีกลิ่น สีขาว เกสรสีเหลือง ใช้ดอกปรุงเป็นยาหอม แต่กลิ่นเป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น เป็นยาชูกำลัง

ดอกเบญจมาศ กลีบดอกเป็นฝอย มีหลายสี ทั้งดอกขนาดใหญ่และขนาดเล็ก นำมาตากแห้ง ใช้ชงน้ำ มีกลิ่นหอม ดื่มแก้กระหายน้ำ คล้ายดอกไม้ที่คนจีนเรียกเก๊กฮวย

ดอกประยงค์ ดอกกลมเล็กคล้ายเมล็ดไข่ปลา หรือสาคู มีสีเหลืองสดมีกลิ่นหอมแรง รากใช้เป็นยา ทำให้อาเจียน ถอนพิษ เมื่อมีอาการเมา

ดอกจำปา ดอกเป็นกลีบยาว สีเหลืองจัด สีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นหอม ดอกมีรสขม เปลือก ราก ใช้รักษาโรคเรื้อน หิด ฝีที่มีหนอง ดอกและเมล็ดใช้ทำยาแก้ไข้ แก้โรคธาตุเสีย คลื่นเหียน อาเจียน วิงเวียนศรีษะ
ดอกสร้อยฟ้า หรือดอกสร้อยอินทนิล เป็นดอกสีฟ้า เป็นดอกสีฟ้า เป็นไม้เถาออกดอกเป็นช่อย้อย
ดอกวัลย์ชาลี หรือวัลย์ชาลี ชิงช้าชาลี ดอกสีเหลืองเป็นช่อเล็ก ๆ สกุลเดียวกับบอระเพ็ด ต้นมีรสขม แก้ฝีดาษ แก้ไข้เหลือง แก้ฝีกาฬ แก้ไข้ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร ใบฆ่าพยาธิ แก้มะเร็ง ดอกใช้ขับพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู ใบสดนำมาต่ำพอกฝี ทำให้เย็น แก้ปวด ถอนพิษ ดับพิษทั้งปวง แก้กระหายน้ำ ขับน้ำย่อยอาหาร

ดอกตาเสือ หรือมะหัวกาน (พยัพ) ดอกมีสีเหลืองคล้ายดอกประยงค์ มีกลิ่นหอม ไม้ตาเสือมีรสฝาด เปลือกใช้แก้พิษเสมหะ และขับโลหิต ผลใช้แก้ปวดตามข้อ ใบใช้ แก้บวม

ดอกบานเย็น ลักษณะดอกยาว เป็นปากแตรเล็ก มีสีเหลืองแดงและขาว บานตอนเย็น ดอกขยี้ทาหน้าแก้สิว บานเย็นดอกขาวใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว ชาวจีนเรียก ตีต้าเช้า ปรุงเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ระงับความร้อน

ดอกพิกุล ดอกเล็ก ๆ มีสีขาวสะอาดตา ริมดอกหยัก บานเวลาใกล้รุ่ง มีกลิ่นหอมแรง ทนทาน แม้ดอกจะเหี่ยวแห้งแล้ว ดอกแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอด ทั้งปี ใช้ปรุงเครื่องหอมอบผ้า

ดอกนางนวล ดอกมีสีแดงแกมขาว ลูกเป็นหนามเหนียว ใบต้มเป็นยา จิบแก้ไอ ดับพิษเสมหะ รากเป็นยาถอนพิษ แก้ไข้ ต้นและใบเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ

ดอกนางแย้ม ดอกสีขาว ซ้อนหลายชั้น กลีบดอกสีม่วง มีกลิ่นหอมแรง รากใช้แก้พิษ ฝีภายใน ขับปัสสาวะ แก้โรคลำไส้ ไตพิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น