ข้อดี ข้อเสีย ของสมุนไพรไทย
สมุนไพรมีทั้ง ข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร ? นี้ จากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก สำเร็จการศึกษา เภสัชศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2525 ปัจจุบันอาจารย์ทำงาน ที่ เภสัชกร 8 วช. ศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง กทม. ผลงานเขียนด้านการเขียนหนังสือวิชาการที่จัดทำมาแล้ว อาจารย์บอกไว้ในหนังสือความดันโลหิตสูง 13 เรื่องรวมเล่มนี้เป็น 14 เรื่อง เท่าที่ทราบ ยังมีอีกที่เขียนต่อจากเล่มนี้ อีกประมาณ 2 เรื่อง ซึ่งสมุนไพรแต่ละชนิดจะบอกผลการทดลอง จากต่างประเทศและประเทศไทย ฯลฯ
” ปัจจุบันประชาชนชาวไทย ได้หันมานิยมใช้สมุนไพรกันมากขึ้น เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณในการรักษาไม่แพ้แผนปัจจุบัน ถึงแม้ว่าพืขสมุนไพรจะมีประโยชน์ แต่อาจมีโทษได้ สรุปว่า สมุนไพรมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดีของสมุนไพร
ข้อดีของสมุนไพร
1. สมุนไพรมีผลข้างเคียง และการแพ้ยาน้อยมาก เพราะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้กินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยาแผนปัจจุบันมีผลข้างเคียง ได้แก่ หน้ามืด คัดจมูก ไอ และที่ร้ายแรงคือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
2. ความเป็นพิษ ที่เกิดจากสมุนไพร แต่ละชนิดมีน้อยมาก บางชนิดไม่มีเลย จากรายงานผลการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพร แต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว
3. ไม่เสี่ยงอันตราย ต่อการใช้ยาเกินขนาด เพราะตัวยาในสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาตปริมาณยาเจือจางไม่เข้มข้น
4. สมุนไพรชิดเดียวกัน สามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง ทำให้ไม่ต้องใช้ตัวยาหลายชนิด เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันสูง ระดับไขมันในเลือดสูง การใช้สมุนไพรขนานเดียวกันก็สามมารถรักษาโรคครอบคลุมทั้ง 3 โรคได้ เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม โสน เห็ดหลินจือ เป็นต้น
5. สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง บางชนิดได้รับความสนใจ จากอุสาหกรรมยานำมาผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันแล้ว เช่น ระย่อม แป๊ะก๊วย เห็ดหลินจือ น้ำองุ่น เป็นต้น
6. ช่วยลดความฟุ่มเฟื่อย ในการใช้ยาต่างประเทศที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาแพง เพราะ สมุนไพรหาง่าย ให้รสอร่อย เช่น น้ำลูกยอ น้ำทับทิบ น้ำองุ่น เป็นต้น
7. สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยสมุนไพรใช้เป็นยา เป็นกลวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของประเทศได้ ในแผนพัฒนาการสาธารณสุขตามแผนพัศนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบัยที่ 6 กระทรวงได้กำหนดแผนการพัฒนาสมุนไพร ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานและแผนงานยา และชีววัตถุ มีงานวิจัยและพัฒนาสมุนไพร และโครงการพัฒนาสมุนไพร เพื่อใช้เป็นยาในอุสาหกรรมผลิตยา และเศรษฐกิจโดยรวมของชาติต่อไป
8. ตอบสนองนโยบาย ของผู้บริหารกทม.(พศ.2548 ) ในการกำหนดนโยบายของสำนักอนามัยให้บริการแพทย์ทางเลือกแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และสนับสนุนนโยบายของรัฐ ที่กำหนดให้มีการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพร ให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความต้องการของท้องถิ่น ข้อเสียของสมุนไพร
1. ปัจจุบันข้อมูลการวิจัยสมุนไพรในเมืองไทยมีน้อย และไม่ต่อเนื่องเพียงพอ ที่จะต่อยอดไปสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมยาได้
2. การเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านสมุนไพรในรูป หนังสือ หรือสื่ออื่นๆ ยังมีไม่มากพอที่จะทำให้ประชาชนเกิดความนิยม ความเชื่อมั่น ในการใช้สมุนไพร
3. ความไม่สะดวกในการบริโภคยาในสมุนไพรแต่ละชนิด(ในธรรมชาติ) มีตัวยาอยู่น้อยและไม่คงตัว ทำให้ผู้บริโภคต้องบริโภคพืชสมุนไพรจำนวนมาก และนำมาปรุงใหม่ๆสดๆวันต่อวัน ซึ่งไม่สะดวกต่อผู้บริโภค บางชนิดก็หายากเป็นอุปสรรคในการใช้สมุนไพร
4. สมุนไพรบางชนิดต้องเสี่ยงกับความไม่สะอาด ปนเปื้อนจากเชื้อรา เนื่องจากกรรมวิธี ในการเก็บ หรือการผลิตไม่สะอาด และมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงได้ กรณีไม่ตรวจสอบเฝ้าระวัง วัตถุดิบที่เก็บมาให้ถูกต้อง
5. สมุนไพรบางชนิดยังโตไม่เต็มที่ เกษตรกรรีบเก็บมาขาย ทำให้ตัวยาสมุนไพรมีน้อยไม่เข้ามาตรฐานอาจทำไห้ผลในการรักษาไม่เต็มที่
6. รัฐบาลยังควบคุมมาตรฐานการผลิตสมุนไพรในโรงงานยาต่างๆไม่ทั่วถึง ทำให้ยาสมุนไพรที่วางจำหน่ายไม่ได้มาตรฐาน ขาดประสิทธิภาพในการรักษาโรค
7. ประชาชนยังไม่รู้จักต้นไม้สมุนไพรบางชนิด เพราะหายาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ทำให้เสี่ยงต่ออันตรายในการใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี
ณ วันนี้ แพทย์และเภสัชกรแผนปัจจุบันควรตื่นตัว และตระหนักในบทบาทวิชาชีพของตนเอง ควรให้ความสำคัญต่อการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ โดยศึกษาข้อมูลอย่างชาญฉลาด รวมทั้งมีการผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ (ผลการทดลองวิจัย) เข้ากับตำรายาไทยที่มีมาแต่บรรพบุรุษโดยพิจารณาไปถึง ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย พิษภัยของสมุนไพร เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลของสมุนไพรต่างๆ ซ้ำรอยแพทย์แผนโบราณ ทำให้พบความลับใหม่ๆ ของสมุนไพร อันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต “
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น