บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรแก้ผื่นคัน


สมุนไพรแก้ผื่นคัน
ขมิ้นชัน ใช้เหง้ามาทำให้แห้ง บดให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาบริเวณผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กจะนิยมใช้มาก
ประโยชน์อื่นๆ ของ ขมิ้นชัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบรูปเรียวยาว ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงออกมาจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
ราก
รากเป็นรากฝอยใหญ่ และรากฝอยขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งแตกออกจากลำต้นใต้ดิน และเหง้าหรือแง่งของขมิ้น
ลำต้น
เป็นพรรณไม้ล้มลุก  ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล กระทือ กระชาย และขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี เหลืองแกมน้ำตาล
ใบ
ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง   ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก     ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจาก หัวใต้ดิน  ช่อก้านดอกยาว  และเป็นช่อคล้ายดอกกระเจียว              ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียว ขาว ปนม่วงซ้อนกันอยู่แน่น    กลีบดอกมีสีขาวนวลแกมม่วมีลักษณะเป็นกลีบเรียงกันอยู่เป็นชั้นๆ ส่วนปลายกลีบอ้าออก  กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
ส่วนที่ใช้เป็นยาเหง้าสดหรือแห้ง
การปลูกขมิ้นชอบอากาศค่อนข้างร้อนและมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ที่อายุได้ 11 – 12 เดือน ทำพันธุตัดออกเป็นท่อนละ 1-2 ตา ปลูกลงแปลงหลังจาก 7 วันรากก็จะเริ่มงอกควรลดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะขุดเอามาใช้ได้
รสและสรรพคุณยาไทยรสฝาด กลิ่นหอม เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วงช่วงเวลาที่เก็บเป็นยาก็บในช่วงอายุ 9-10 เดือน
วิธีใช้ประโยชน์อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อยทำโดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออกหั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้คุณค่าทางอาหารเหง้าขมิ้นพบว่ามี วิตามิน เอ วิตามิน ซี
นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆอีกพอสมควร เป็นเครื่องปรุงรส แต่งสีได้ดีมากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย “เอสเซนเซียล” และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้ม ที่ทำให้ขมิ้นได้ชื่อว่า Curcumin จากการทดลองพบว่าขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบมีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง
ช่อดอกขมิ้นชัน
การปลูกขมิ้นชันในประเทศไทย เริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี และจะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท
ขมิ้นชันสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมควรเป็นดินที่ระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง ถ้าเป็นดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 1 ตัน/ไร่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน
การเตรียมดินควรไถพรวนก่อนต้นฤดูฝน และหลังจากพรวนดินให้มีขนาดเล็กลงแล้ว ก็ใช้ไถยกร่องปลูกระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร
แปลงปลูกขมิ้นชันใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร
การปลูกขมิ้นชันอาจใช้ท่อนพันธุ์ได้ 2 ลักษณะคือใช้หัวแม่ และใช้แง่ง ถ้าปลูกโดยใช้หัวแม่ที่มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ขนาดน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/หัว หัวแม่นี้สามารถให้ผลผลิตประมาณ 3,300 กิโลกรัม/ไร่ ที่ระยะปลูก 75×30 เซนติเมตรถ้าใช้หัวแม่ขนาดเล็กลง จะลดลงไปตามสัดส่วน ถ้าปลูกด้วยแง่งขนาด 15-30 กรัม/ชิ้น หรือ 7-10 ปล้อง/ชิ้น จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดประมาณ 2,800 กก./ไร่ (ดูตาราง)
หัวแม่
แง่งพันธุ์มีปล้อง 7-9 ปล้อง/ชิ้น น้ำหนัก 15-30 กรัม/ชิ้น ความยาว 8-12 ซม.
จำนวนและน้ำหนักพันธุ์ขมิ้นชันที่ใช้ปลูกและผลผลิตที่ได้โดยประมาณ
ชนิดและขนาดของหัวพันธุ์ที่ใช้ปลูก
จำนวนหัวพันธุ์ที่ใช้ปลูก/ไร่ ในระยะปลูก 75×30 เซนติเมตร (ชิ้น)
น้ำหนักหัวพันธุ์กิโลกรัม/ไร่ (กิโลกรัม)
ผลผลิต(กิโลกรัม/ไร่)
1. หัวแม่น้ำหนักประมาณ 15-30 กรัม/หัว 7,1001553,3002. หัวแม่ผ่าซีกน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/ชิ้น 7,1002152,7003. แง่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. ยาวประมาณ 8-12 ซม. น้ำหนัก 15-30 กรัม/ชิ้น 7,1001402,8004. แง่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. ยาวประมาณ 6-9 ซม. น้ำหนัก 5-10 กรัม/ชิ้น 7,100752,500ก่อนนำลงปลูกในแปลงควรแช่ด้วยยากันราและยาฆ่าเพลี้ย เพื่อป้องกันโรคหัวเน่าและกำจัดเพลี้ย ซึ่งอาจติดมากับท่อนพันธุ์และมักจะระบาดมากขึ้นในช่วงปีที่ 2-3 ของการปลูกหากมิได้รับการเอาใจใส่ป้องกันให้ดีก่อนปลูก โดยแช่นานประมาณ 30 นาที ควรระมัดระวังการใช้สารเคมีโดยสวมถุงมือยางที่มีสภาพเรียบร้อยไม่ขาด และควรสวมหน้ากากด้วย ก่อนปลูกขมิ้นชันควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก./ไร่ และวางท่อนพันธุ์ลงในแปลง กลบดินหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังจากนั้นขมิ้นชันจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 30-70 วันหลังปลูก
ขมิ้นชัน เมื่อเริ่มงอกยาวประมาณ 5-10เซนติเมตร ต้องรีบทำการกำจัดวัชพืช เนื่องจากขมิ้นชันหลังจากงอกจะเจริญเติบโตแข่งกับวัชพืชไม่ได้ และใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50 กก./ไร่ เมื่อกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ควรพรวนดินกลบโคนแถวขมิ้นชันด้วยหลังจากนั้นกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้งก็พอ
แม้ว่าขมิ้นชันจะเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมก็ตามในช่วงต้นฤดูฝน อาจทิ้งช่วงไปขณะที่ขมิ้นชันยังมีขนาดเล็กอยู่ อาจมีอาการเหี่ยวเฉาบ้าง จึงควรให้น้ำชลประทานให้เพียงพอสำหรับความชุ่มชื้น หรืออาจใช้วัตถุคลุมดินเพื่อลดการระเหยของน้ำ และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนไม่จำเป็นต้องให้น้ำเลย แต่ต้องระมัดระวังน้ำท่วมขังในแปลงเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ขมิ้นเน่าตายได้ ควรเตรียมแปลงให้มีทางระบายน้ำและต้องรีบจัดการระบายน้ำออกทันทีที่พบว่ามีน้ำท่วมขัง
โรคของขมิ้นชันเกิดจากการเน่ของหัวขมิ้นจากน้ำท่วมขังหรือการให้น้ำมากเกินไป หรือเกิดจากการปลูกซ้ำที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง ทำให้เกิดการสะสมโรค โรคที่พบกได้แก่ โรคเหง้าและรากเน่าซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคต้นเหี่ยว และโรคใบจุด เกิดจากเชื้อราโรคเหล่านี้เมื่อเกิดแล้วรักษายาก จึงควรป้องกันก่อนปลูก การป้องกันโรคที่ดีควรทำโดยการหมุนเวียนแปลงปลูกทุก ๆ ปี
หลังจากปลูกขมิ้นชันเมื่อช่วงต้นฤดูฝนจนย่างเข้าสู่ฤดูหนาวประมาณปลายเดือนธันวาคม ลำต้นเหนือดินเริ่มแสดงอาการเหี่ยวแห้งจนกระทั่งแห้งสนิทจึงเริ่มทำการเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวหัวขมิ้นโดยใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวหัวขมิ้นควรใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่นรถแทรคเตอร์ติดผานไถอันเดียว และคนงานเดินตามเก็บหัวขมิ้นชันจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าแรงงาน เนื่องจากการเก็บเกี่ยวเป็นช่วงฤดูแล้งในสภาพดินเหนียวดินจะแข็ง ทำให้เก็บเกี่ยวยากอาจให้น้ำพอดินชื้น ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์แล้วจึงเก็บเกี่ยวขมิ้น ในกรณีที่ใช้แรงงานคนขุดหัวขมิ้นในดินที่ไม่แข็งเกินไป มักจะขุดได้เฉลี่ยประมาณ 116 กก./วัน/คน เมื่อทำการเก็บเกี่ยวแล้วต้องนำมาตัดแต่งราก ทำความสะอาดดินออกในกรณีที่ต้อกงารขมิ้นสดอาจจะขายส่วนที่เป็นแง่ง ส่วนหัวแม่ควรเก็บไว้เป็นพันธุ์ปลูกในฤดูกาลต่อไป ถ้าเตรียมขมิ้นแห้งเพื่อนำไปใช้ทำยารักษาโรคนั้น ต้องเป็นขมิ้นชันที่แก่เต็มที่ และต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งต้องมีปริมาณสารสำคัญ (เคอร์คูมิน) ไม่น้อยกว่า 8.64 เปอร์เซ็นต์
การเก็บเกี่ยวหัวขมิ้นชัน
การคัดเลือกขมิ้นชันสำหรับปลูกหรือเตรียมทำเป็นขมิ้นแห้ง
วิธีการต้องนำหัวขมิ้นชันล้างด้วยน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากออกให้หมด แล้วฝานเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปตากแดดในตู้อบแสงอาทิตย์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองได้ และเมื่อแห้งสนิทแล้วบรรจุถุงปิดให้สนิท
ขมิ้นแห้งที่ผ่านการตากแห้งด้วยตู้อบแสงอาทิตย์ขมิ้นสด 5 กิโลกรัมจะได้ขมิ้นแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม นอกจากการเตรียมสำหรับทำยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถเตรียมขมิ้นชันเพื่อใช้ในการแต่งสี และแต่งกลิ่นผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด โดยการต้มแง่งขมิ้นในน้ำเดือดเป็นเวลา 30 นาที จะมีปริมาณเคอร์คูมิน 5.48 เปอร์เซ็นต์ แล้วหั่นก่อนอบแห้ง ในการต้มขมิ้นชันกับน้ำเดือดจะทำให้ประหยัดเวลาในการทำแห้งมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการฝานสดแล้วตากแห้งกับแสงแดดและขมิ้นที่ได้ต้องนำไปบดเป็นผงต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น