สมุนไพรบำรุงหน้าอกบำรุงน้ำนม
การผลิตน้ำนมแม่นั้นใช้หลักการเดียวกับอุปสงค์อุปทาน
อุปสงค์เกิดขึ้นจากความสามารถแต่ละครั้งที่ลูกดูดนมจากเต้าได้หมด ซึ่งหากน้ำนมที่ผลิตในแต่ละครั้งหมดจากเต้าก็จะทำให้เกิดอุปทานหรือการผลิตน้ำนมขึ้นมาใหม่
ส่วนสาเหตุของการผลิตน้ำนมได้น้อยส่วนใหญ่ก็เกิดจากการที่ลูกไม่สามารถทำให้นมที่ผลิตออกมาแต่ละครั้งหมดไปได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากท่าดูดนมที่ไม่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งการให้นมลูกตามตารางเวลาที่วางไว้ แทนที่จะให้เมื่อลูกต้องการ เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ที่จะทำให้นมไม่เพียงพอได้
ส่วนปัญหาที่พบไม่บ่อยก็เช่น ขนาดของปากลูกกับหัวนมแม่ การที่ลูกมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อก็ทำให้ไม่อยากดื่มนมไปด้วย การที่แม่มีอาการเจ็บจากการที่ให้ลูกดูดนมก็อาจทำให้แม่หลีกเลี่ยงที่จะให้นมลูก ภาวะความไม่สมดุลของฮอร์โมนในมารดา เป็นต้น ถ้าเกิดอาการนมคัด หัวนมแข็ง ก็ต้องบีบให้น้ำนมไหลออกบ้างก่อนให้ลูกดูด ไม่เช่นนั้นลูกดูดไม่ออก พาลจะไม่ยอมดูดนมแม่ในครั้งต่อๆ ไป
แม่ที่ให้นมลูกผลิตน้ำนมประมาณวันละ 23-27 ออนซ์ต่อวัน นมแม่จะมีแคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ที่ลูกต้องการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แม่ได้รับพลังงานเพิ่มอีก 500 กิโลแคลอรีต่อวัน แม่ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำวันละ 1-2 ลิตร และการดื่มนมก็จะช่วยได้มาก เพราะนมมีส่วนประกอบของน้ำและสารอาหารที่ดูดซึมได้ง่าย ทั้งนี้ควรดื่มนมให้ได้วันละ 3 แก้ว
ถ้าไม่สามารถกินได้ตามจำนวนก็ให้ดื่มวันละ 1 แก้ว แล้วเพิ่มอาหารดังนี้ 2 ชนิด หรือเพิ่มเป็น 1 เท่า ของ 1 ชนิด คือไข่ 1 ฟอง เนื้อปลา 2 ช้อนโต๊ะ เนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ เนื้อวัว 2 ช้อนโต๊ะ เนื้อไก่ 2 ช้อนโต๊ะ ปลาทู 2 ช้อนโต๊ะ เต้าหู้อ่อนครึ่งหลอด และควรใช้วิธีทอดด้วยน้ำมันหรือปรุงกะทิ เพราะไขมันมีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนม
สำหรับผลไม้ เช่น กล้วยหอมครึ่งผล กล้วยน้ำว้า 1 ผล องุ่น 12 ผล ส้มผลใหญ่ 1 ผล สับปะรดขนาดคำ 10 ชิ้น มะละกอขนาดคำ 10 ชิ้น ลำไย 6-8 ผล ซึ่งจะต้องกิน 3 ชนิด ชนิดละ 3 เท่า
นอกจากนั้นอาจเพิ่มการกินอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนม เช่น แกงเลียง ผัดขิง น้ำขิง และอาหารที่มีหัวปลีเป็นส่วนประกอบ
จากผลการศึกษาพบว่า มีส่วนช่วยให้มารดามีน้ำนมมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการให้ลูกดูดนมแม่ร่วมด้วยจะช่วยได้เป็นอย่างดี
อีกประการหนึ่งการดื่มน้ำอุ่นก็เป็นสิ่งที่แม่ทุกคนควรทำ โดยเฉพาะช่วงต้นของการให้นมลูก เป็นการเรียกน้ำนมได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย
โภชนาการของแม่มีผลต่อองค์ประกอบของสารอาหารในนมแม่หรือไม่ จากการวิจัยพบว่าแร่ธาตุหลัก เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ในน้ำนมไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการกินอาหาร ของแม่ แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ของภาวะโภชนาการของแม่อาจส่งผลต่อสารบางชนิด ได้แก่
1. ชนิดของไขมัน กล่าวคือหากแม่กินไขมันที่มีประโยชน์ เช่น ไขมันที่มีส่วนประกอบของไขมันชนิดไม่อิ่มตัว หรือไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้ (เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก) ก็จะทำให้นมแม่มีไขมันที่จำเป็นแก่การเติบโตของทารกตามไปด้วย
2. ธาตุซีลีเนียมและไอโอดีน การเพิ่มการกินซีลีเนียมและไอโอดีนของแม่จะทำให้มีปริมาณองค์ประกอบของแร่ธาตุทั้งสองชนิดในน้ำนมเพิ่มขึ้นด้วย
3. วิตามินทุกชนิด ปริมาณวิตามินทุกชนิดในน้ำนมขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกินวิตามินและปริมาณวิตามินที่สะสมอยู่ในร่างกายของแม่
2. ธาตุซีลีเนียมและไอโอดีน การเพิ่มการกินซีลีเนียมและไอโอดีนของแม่จะทำให้มีปริมาณองค์ประกอบของแร่ธาตุทั้งสองชนิดในน้ำนมเพิ่มขึ้นด้วย
3. วิตามินทุกชนิด ปริมาณวิตามินทุกชนิดในน้ำนมขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกินวิตามินและปริมาณวิตามินที่สะสมอยู่ในร่างกายของแม่
ข้อแนะนำสำหรับการกินอาหารเพื่อเพิ่มน้ำนม1. กินอาหารให้เพียงพอ กินจนรู้สึกอิ่ม ความรู้สึกอิ่มจะมีผลไปเพิ่มการหลั่งฮอร์โทนออกซีโทซิน ซึ่งทำให้มีการหลั่งน้ำนมเพิ่มมากขึ้น
2. กินอาหารจำพวกธัญพืชให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณอาหารที่ได้รับต่อวัน ธัญพืชที่ควรกิน ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เพราะในอาหารจำพวกธัญพืชมีน้ำตาลที่ชื่อบีตา-กลูแคน ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม
3. กินอาหารที่สร้างให้เกิดภาวะสมดุลร้อน-เย็น จากทฤษฎีการแพทย์ตะวันออกเชื่อว่าผู้หญิงที่คลอดบุตรใหม่ๆ ร่างกายจะมีภาวะเย็น หรือหมายถึงการที่อวัยวะภายในยังทำงานได้ไม่เต็มที่นั้น การที่จะทำให้อวัยวะทำงานได้ดีขึ้นนั้นควรที่จะกินอาหารหรือสมุนไพรที่มีรสร้อน เพื่อไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือด อันจะทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงการหลั่งของน้ำนมเพิ่มขึ้นด้วย
2. กินอาหารจำพวกธัญพืชให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณอาหารที่ได้รับต่อวัน ธัญพืชที่ควรกิน ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เพราะในอาหารจำพวกธัญพืชมีน้ำตาลที่ชื่อบีตา-กลูแคน ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม
3. กินอาหารที่สร้างให้เกิดภาวะสมดุลร้อน-เย็น จากทฤษฎีการแพทย์ตะวันออกเชื่อว่าผู้หญิงที่คลอดบุตรใหม่ๆ ร่างกายจะมีภาวะเย็น หรือหมายถึงการที่อวัยวะภายในยังทำงานได้ไม่เต็มที่นั้น การที่จะทำให้อวัยวะทำงานได้ดีขึ้นนั้นควรที่จะกินอาหารหรือสมุนไพรที่มีรสร้อน เพื่อไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือด อันจะทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงการหลั่งของน้ำนมเพิ่มขึ้นด้วย
แม่บางรายที่มีน้ำนมน้อย เมื่อเริ่มกินอาหารที่มีรสร้อน ก็จะทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้น อาหารหรือสมุนไพร ที่มีรสร้อน เช่น ขิง แกงเลียง ส่วนผักที่มีลักษณะกรอบ แข็ง (ผักกาด กะหล่ำปลี บร็อกโคลี และแครอต เวลานำมาปรุงเป็นอาหารควรใส่สมุนไพรที่มีรสร้อนลงไปด้วย เพื่อให้ร่างกายของแม่ย่อยและดูดซึมอาหารได้มากขึ้น อีกทั้งสมุนไพรที่มีรสร้อนส่วนมากมักจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซึ่งมีผลทำให้มีการเพิ่มของปริมาณน้ำนมได้
4. กินอาหารที่มีไขมันจำเป็น (Essential fatty acids) เพิ่มขึ้น เพราะไขมันเป็นสารอาหารที่เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของน้ำนมแม่
ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนนิยมให้กินน้ำมันมะกอกเพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำนม
ประเทศแถบแปซิฟิกนิยมให้กินน้ำมันมะพร้าวเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
อินเดียและจีนนิยมกินน้ำมันงาเพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำนม
ส่วนที่สหรัฐอเมริกานิยมกินน้ำมันเมล็ดป่านและน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสเพื่อเพิ่มน้ำนมแม่
ประเทศแถบแปซิฟิกนิยมให้กินน้ำมันมะพร้าวเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
อินเดียและจีนนิยมกินน้ำมันงาเพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำนม
ส่วนที่สหรัฐอเมริกานิยมกินน้ำมันเมล็ดป่านและน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสเพื่อเพิ่มน้ำนมแม่
ไขมันชนิดจำเป็นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ โอเมก้า 6 (Omega-6) และโอเมก้า 3 (Omega-3) โดยสัดส่วนการกินไขมันทั้งสองชนิด ควรเป็นโอเมก้า 6 : โอเมก้า 3 เป็น 4 : 1 ซึ่งอาหารที่มีโอเมก้า 6 ปริมาณสูง เช่น นมสดชนิดไม่พร่องมันเนย ไข่ เนื้อสัตว์ น้ำมันงา น้ำมันดอกทานตะวัน ถั่ว และธัญพืช
อาหารที่มีโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง เช่น ผักใบเขียว น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดป่าน น้ำมันตับปลา
ไข่เกษตรอินทรีย์และปลา อย่างไรก็ตาม การกินปลาควรจะต้องคำนึงถึงปริมาณสารตะกั่วและสารพิษอื่นๆ ที่อาจตกค้างอยู่ในปลา
อาหารที่มีโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง เช่น ผักใบเขียว น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดป่าน น้ำมันตับปลา
ไข่เกษตรอินทรีย์และปลา อย่างไรก็ตาม การกินปลาควรจะต้องคำนึงถึงปริมาณสารตะกั่วและสารพิษอื่นๆ ที่อาจตกค้างอยู่ในปลา
5. ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูป เช่น อาหารบรรจุเสร็จ ขนมอบ เบเกอรี่ เนื่องจากในอาหารเหล่านี้มีสัดส่วนของไขมันชนิดทรานส์ (Trans-fatty acid) ในปริมาณค่อนข้างสูง ไขมันชนิดนี้อาจมีผลทำให้เอนไซม์ ของร่างกายทำงานได้ลดลง รวมทั้งไปรบกวนการสร้างไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกด้วย
อาหารสมุนไพรบำรุงน้ำนม
ใบกะเพรา Ocimum sanctum L.
คุณค่า มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส เส้นใยอาหารสูง
สรรพคุณ ความร้อนจากใบกะเพราช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ หวัด คลื่นไส้ อาเจียน ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ยิ่งถ้าเด็กได้รับจากนมแม่ ก็จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อในเด็กด้วย ในอินโดนีเซียใช้ใบกะเพราปรุงอาหารกินเพื่อขับน้ำนมเช่นกัน
อาหารแนะนำ แกงเลียง (ใส่ใบกะเพรา) ผัดกะเพรา แกงป่าหรือผัดเผ็ดต่างๆ นอกจากได้สรรพคุณทางยาแล้ว ในใบกะเพรายังมีกลิ่นหอมช่วยดับกลิ่นและรสคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี
ใบกะเพรา Ocimum sanctum L.
คุณค่า มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส เส้นใยอาหารสูง
สรรพคุณ ความร้อนจากใบกะเพราช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ หวัด คลื่นไส้ อาเจียน ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ยิ่งถ้าเด็กได้รับจากนมแม่ ก็จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อในเด็กด้วย ในอินโดนีเซียใช้ใบกะเพราปรุงอาหารกินเพื่อขับน้ำนมเช่นกัน
อาหารแนะนำ แกงเลียง (ใส่ใบกะเพรา) ผัดกะเพรา แกงป่าหรือผัดเผ็ดต่างๆ นอกจากได้สรรพคุณทางยาแล้ว ในใบกะเพรายังมีกลิ่นหอมช่วยดับกลิ่นและรสคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี
กุยช่าย Allium tuberosum Roxb.
คุณค่า แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต บีตาแคโรทีน วิตามินซี
สรรพคุณ ช่วยขับน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
อาหารแนะนำ นำส่วนดอกมาผัดกับเนื้อสัตว์ หรือนำใบมากินสดแกล้มกับอาหารอื่นๆ แต่ที่นิยมคือ ใส่ผัดไทย
คุณค่า แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต บีตาแคโรทีน วิตามินซี
สรรพคุณ ช่วยขับน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
อาหารแนะนำ นำส่วนดอกมาผัดกับเนื้อสัตว์ หรือนำใบมากินสดแกล้มกับอาหารอื่นๆ แต่ที่นิยมคือ ใส่ผัดไทย
รสร้อนเพิ่มการไหลเวียน และช่วยย่อย
กานพลู Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & S.G.Harrison
คุณค่า น้ำมันที่อยู่ในดอกกานพลู มีส่วนประกอบสำคัญคือยูจีนอล (Eugenol )
สรรพคุณ ช่วยขับน้ำนม มีฤทธิ์ช่วยขับน้ำดีเพื่อนำไปย่อยอาหาร ลดอาการบีบตัวของลำไส้บรรเทาอาการแน่น จุกเสียด
อาหารแนะนำ นำดอกตูมแห้งมา 5-8 ดอก ชงในน้ำเดือด แล้วดื่มแต่น้ำ
กานพลู Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & S.G.Harrison
คุณค่า น้ำมันที่อยู่ในดอกกานพลู มีส่วนประกอบสำคัญคือยูจีนอล (Eugenol )
สรรพคุณ ช่วยขับน้ำนม มีฤทธิ์ช่วยขับน้ำดีเพื่อนำไปย่อยอาหาร ลดอาการบีบตัวของลำไส้บรรเทาอาการแน่น จุกเสียด
อาหารแนะนำ นำดอกตูมแห้งมา 5-8 ดอก ชงในน้ำเดือด แล้วดื่มแต่น้ำ
ขอบคุณบทความจาก http://www.doctor.or.th/node/5798
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น