บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สะตอมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร


สะตอมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
สะตอ เป็นพืชผักยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันสะตอจัดเป็นพืชผักเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญ เพราะมีผู้นิยมบริโภคทั่วไป สะตอเป็นพืชผักที่มีรสชาติดี สามารถนำมารับประทานสด และปรุง อาหารได้หลายชนิด มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย คือช่วยลดความดันโลหิตและช่วยลดน้ำตาล ในเลือด
ผลผลิตของสะตอในอดีตได้จากการเก็บจากป่าและเกษตรกรปลูกแซมกับพืชหลักชนิดอื่น ๆ แต่ในปัจจุบันมีผู้นิยมรับประทานสะตอกันมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการบริโภคสะตอมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้มีผู้สนใจปลูกสะตอกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกภาคของประเทศ
สภาพดินฟ้าอากาศ
สะตอชอบที่ที่มีความชื้นสูง ดินควรเป็นดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์สูง ดินค่อนข้างเป็นกรด คือ pH 5.2-6.5 ระบายน้ำได้ดีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี สามารถขึ้นได้ดีในที่สูงถึง 2,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80 เปอร์เซนต์
พันธุ์
พันธุ์ สะตอมี 2 ชนิด คือ
สะตอข้าว ลักษณะฝักเป็นเกลียว ยาวประมาณ 31 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. จำนวนเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-20 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นไม่ฉุนเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น อายุการให้ผลผลิต 3-5 ปี หลังปลูก
สะตอดาน ฝักมีลักษณะตรงแบนไม่บิดเบี้ยว ยาวประมาณ 32 ซม. ความกว้างกว้างกว่าสะตอข้าวเล็กน้อย มีเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-15 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นฉุนรสเผ็ด เนื้อเมล็ดแน่น อายุการเก็บเกี่ยว 5-7 ปี การขยายพันธุ์
1. เพาะเมล็ด การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และได้ต้นพันธุ์จำนวนมาก โดยการนำเมล็ดจากฝักที่แก่ขนาดที่ใช้รับประทาน แกะเมล็ดแล้วนำไปเพาะลงถุง ประมาณ 2-3 เดือน ก็นำไปปลูกได้ แต่ต้นที่ปลูกจะมีลำต้นสูงใหญ่ มีการกลายพันธุ์ได้และให้ผลผลิตช้า 2. การติดตา การขยายพันธุ์โดยวิธีการนี้ เป็นวิธีการที่นิยมกันในปัจจุบัน เพราะต้นสะตอ ที่นำไปปลูกมีลักษณะให้ผลผลิตเร็วตรงตามพันธุ์ ลำต้นไม่สูง สามารถปฏิบัติดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวได้ง่าย
การปลูก
สะตอสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพพื้นที่ แต่ต้องไม่มีน้ำท่วม
การปลูกสามารถปลูกเป็นพืชเดี่ยวหรือปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่น ๆ ได้ ควรปลูกในร่องต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนโดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 9-10 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 9-10 เมตร ขุดหลุมขนาด 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูก เมื่อปลูกแล้ว ปักไม้แนบลำต้น ผูกเชือกรดน้ำให้ชุ่ม และทำร่มเงาทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี การดูแลรักษา
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ในระยะเริ่มปลูกรดน้ำ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี 2-3 เดือนต่อครั้ง ตั้งแต่เริ่มปลูก โดยใส่ปุ๋ยเคมี ดังนี้
ช่วงการเจริญเติบโต ก่อนการให้ผลผลิต หลังการเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
ช่วงก่อนการออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24
ช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 0-0-50
การตัดแต่งกิ่ง
ตัดยอด เมื่ออายุ 1-2 ปี หรือสูง 2-3 เมตร เพื่อให้มีการแตกทรงพุ่มและลำต้นไม่สูง
ตัดแต่งกิ่ง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งและไม่ให้สูงเกินไป
การป้องกันกำจัดวัชพืช
เมื่อสะตอยังเล็กอยู่จำเป็นต้องมีการกำจัดวัชพืช โดยใช้มีดหรือจอบถางหรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เมื่อสะตอโตแล้ว การกำจัดวัชพืชก็น้อยลง
การเก็บเกี่ยว
การให้ผลผลิตของสะตอจะมีมากในช่วงเดือนมิถุนายน -สิงหาคม อายุของฝักสะตอที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวฝักเพื่อนำมา บริโภค คือ 48-54 วันหลังดอกบานโดยประมาณ โดยสังเกตจากมีลักษณะสีของฝักมีสีเขียวเข้ม มันแวว ตรงเมล็ดจะนูน เห็นเด่นชัดสะดุดตา เปลือกหุ้มเมล็ด เมื่อแกะดูด้านในที่บริเวณขั้วของเปลือกมีสีเหลืองเข้ม
ส่วนใหญ่จะใช้มีดผูกกับปลายไม้แล้วสอยลงมา เกษตรกรจะมัดฝักสะตอเป็นช่อๆละ 100 ฝัก ขายส่งพ่อค้าคนกลาง ราคาประมาณ 80 – 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลของสะตอ ว่ามากหรือน้อย ราคาขายปลีกในฤดูกาล ราคาฝักละ 2-5 บาท นอกฤดูกาล ราคาฝักละ 8-10 บาท  สรรพคุณทางยา
- ผลต่อความดันโลหิต - ผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์- ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย- ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา- ผลของการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง- ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด- ฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น